[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 54 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายอดุลย์ โคตรพันธ์


ที่อยู่

             เลขที่ 9809 หมู่ที่ 2 บ้านป่าแขม ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 34230

โทรศัพท์

             085-102-6146

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 เดิม เป็นชาวจังหวัดศรีษะเกษ เข้ารับราชการตั้งแต่ปี 2522 สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ในตำแหน่งผู้ประสานงานโครงการ CCF ประจำอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี กระทั่งย้ายมาประจำที่อำเภอเดชอุดม และอำเภอพิบูลย์มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงปฏิบัติราชการที่จังหวัดอุบลราชธานีปี 2528 ถือเป็นช่วงที่ทดลองปลูกยางพาราในภาคอีสาน ความรู้ ความเข้าใจเรื่องยางพาราของคนในพื้นที่ยังมีอยู่น้อย และพี่อดุลย์ได้รับมอบหมายให้ดูแลและส่งเสริมเรื่องการปลูกยางพาราเป็นการ เฉพาะ ทำให้ได้เรียนรู้กระบวนการเกี่ยวกับยางพารา และได้ทดลองปลูกยางพาราในพื้นที่ของตนเองกว่า 15 ไร่ พี่อดุลย์ได้ทำแปลงกิ่งพันธุ์ของตัวเองขึ้นเมื่อประสบกับปัญหาต้องซื้อตา กิ่งพันธุ์ไกลถึงจังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทราหรือใกล้ที่สุดก็บุรีรัมย์ ทำให้ตากิ่งพันธุ์เสียหายมากจากเวลาและการขนส่ง จึงพัฒนาปรับปรุงแปลงเพาะกล้าพันธุ์ยางของตัวเองขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ประกอบกับการเป็นนักสะสม และชอบทดลองทำให้ภายในแปลงเพาะขยายพันธุ์ของพี่อดุลย์มียางพาราพันธุ์ต่างๆ มากมายเพื่อทดลองพร้อมกับสังเกตและเรียนรู้ไปด้วย ปี 2548 ได้มีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ ส.ป.ก.ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเข้าทำวิจัยร่วมกับชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยทำให้ชุมชนเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขนส่งทั้งต้นทุนที่ สูงขึ้น การถูกกดราคาจากพ่อค้า จึงร่วมกับสมาชิกชุมชนตั้งกลุ่มรับซื้อยางด้วยเงินทุนกว่า 4 แสนบาทที่ระดมจากคณะกรรมการกลุ่ม 15 คน กระทั่งภายหลังได้ตั้งเป็น “กลุ่มวิสาหกิจยางพาราภูฝอยลม”ขึ้น ภายในระยะเวลา 3 ปี ด้วยความเที่ยงตรงไม่เลือกปฏิบัติทำให้กลุ่มได้รับความเชื่อถืออย่างรวดเร็ว และมียอดรับซื้อเดือนละกว่า 50 ตัน ทั้งยังมีเงินปันผลจากการลงหุ้น การจัดสวัสดิการให้กับชุมชนอีกด้วย

องค์ความรู้

                 การสร้างความหลากหลายในสวนยาง,กระบวนการจัดการกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา



                 การ สร้างความหลากหลายในสวนยาง จากแนวคิดเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตชาวสวนยางด้านราคาที่อาจจะไม่แน่ นอน และการสร้างความมั่นคงให้กับดินเพื่อยังความอุดมสมบูรณ์และลดต้นทุนปุ๋ย เพิ่มความชุ่มชื่น -ปลูกพืชชั้นล่างที่อยู่ได้ในร่ม เช่น ขิง ข่า กระชาย กระวาน -ปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วป้องกันไฟ ปรับสภาพดิน -ไม้ใช้สอยจำลองแบบป่าธรรมชาติ เช่น ประดู่ แดง กระถินเทพา



                 กระบวนการจัดการกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอบุณฑริก อำเภอสิรินธร และอำเภอนาจะหลวย มีพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก จึงมีการรวมตัวกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน พบแนวทางต้องดำเนินกิจกรรม 5 กิจกรรม 1. ด้านการตลาด การตั้งตลาดรับซื้อยางพาราเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกเอาเปรียบและแก้ไขสภาพคล่อง ของเกษตรกรรายย่อย อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาการเดินทางไปขายยางในตัวอำเภอ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างสูงทำให้เกษตรกรรายย่อยมีความยากลำบาก จากการดำเนินงานแบบข้อจำกัดต่างกัน เช่น เงินทุน การยอมรับของเกษตรกร 2. สร้างความหลากหลายในสวนยาง แนวคิดสร้างสวนยางให้เป็นป่ายาง เพื่อเป็นแหล่งอาหาร 3. การใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยาง โดยทำแปลงสาธิตใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียว 4. การพัฒนาแหล่งน้ำ การทำฝายแม้ว เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง 5. การเสริมความรู้ การดูแลรักษาสวนยาง


เข้าชม : 1785    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553