[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 55 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายโทน วรสุข


ที่อยู่

             40 หมู่ที่ 2 บ้านม่วง ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี 34280

โทรศัพท์

             084-736-7853

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 “พ่อ ใหญ่โทน” วัย 80 ปี เมื่อครั้งวัยหนุ่มต้องรับผิดชอบงานในไร่นา และดูแลน้อง ทนความลำบากไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านด้วยวัยเพียง 17 ปี เพื่อแสวงหางานที่คิดว่าสบายกว่า กระทั่งอายุ 20 ปีย้ายมาทำงานที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นายจ้างยกที่ดินให้ 1 ผืน คาดหวังจะเริ่มลงหลักปักฐาน แต่มีเหตุต้องไปรับจ้างทำความสะอาดที่ท่าเรือคลองเตยกับภรรยาได้ค่าจ้าง เดือนละ 600 บาท พออยู่ได้ในยุคนั้น แต่มาฉุกคิดได้ว่ายามแก่เฒ่าจะอยู่อย่างไร จึงตัดสินใจกลับบ้าน โดยเริ่มจากปลูกมันสำปะหลัง ปอ ประสบปัญหาขาดทุนเพราะ ราคาผลผลิตต่ำ จึงเลิกทำ กลับมาค้าขาย เมื่อได้กำไร ก็นำเงินไปซื้อที่ดินเก็บสะสมไว้ บางครั้งก็ได้จากคนเอาที่ดินมาแลกข้าวกิน ต่อมาเมื่อ ส.ป.ก. เข้ารังวัดพื้นที่ พร้อมกับนักพัฒนาเอกชน เข้าไปทำงานในพื้นที่จึงมีโอกาสได้เรียนรู้งานพัฒนา ทั้งได้ไปดูงานที่เครือข่ายอินแปง และด้วยใจรักในการทำเกษตร จึงเริ่มทำเกษตรบนผืนดิน เป็นผู้ริเริ่มทำเกษตรผสมผสานในชุมชน โดยการปลูกพืชหลากหลายชนิด มีทั้งข้าว ผักสวนครัว สมุนไพร ไม้ใช้สอย และไม้ผล ทำการเกษตรโดยยึดหลัก “อย่าฆ่าสังคม หรือสร้างพิษภัยต่อสังคม ด้วยสารเคมี” ทำให้ในนามีปู ปลา หอย เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตนเอง และครอบครัว อีกทั้งยังสังเกตธรรมชาติเพื่อนำมาวางแผนการเพาะปลูก เช่น การคาดการณ์ปริมาณฝน โดยสังเกตหางตะกวด (แลน) ที่เกิดใหม่ในปีนั้น หากหางมีสีดำมากกว่าสีขาว แสดงว่าฝนจะตกชุก หรือการดูสีของกระดูกอึ่งเผ้า (อึ่งโกรก) จากโคนขา ถ้าหากกระดูกมีสีดำไปหาขาว แปลว่าฝนแล้ง หรือดูไก่ต้ม หากช่วงหัวไก่โค้งงอเหมือนรวงข้าว น้ำจะดี แต่หากคอเหยียดตรงแสดงว่าฝนแล้ง ทั้งนี้พ่อใหญ่โทน มีแผนที่จะทำผ้าป่าต้นไม้สนับสนุนให้ปลูกไม้ป่า ไม้ใช้สอยบนหัวไร่ปลายนา เพื่อดึงลูกหลานให้กลับมาถิ่นเดิม

องค์ความรู้

                 การขยายพันธุ์พืช,เทคนิคการติดตา,วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น,คำผญา



                 การ ขยายพันธุ์พืช การปลูกและดูแลพืชโดยเน้นเรื่องการเสริมรากและการติดตา หลักการเสริมราก - นำกิ่งตอนพันธุ์ดีลงปลูกในแปลง นำต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร ไปปลูกรอบ ๆ ต้นของกิ่งตอนอาจใช้ 2 - 3 ต้น เพื่อเสริม 2 - 3 ราก - วิธีการเสริมราก ใช้วิธีฝานบวบ คือ เฉือนกิ่งตอนเป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว จำนวนรอยแผลเท่ากับจำนวนของต้นราก เฉือนแผลต้นตอเป็นรูปโล่ ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว อย่าตัดยอดของต้นรากจนกว่ารอยแผลจะเชื่อมกัน - นำรอยแผลของต้นรากและกิ่งตอนมาประกบกัน โดยโน้มต้นรากเข้ามาประกบกับรอยแผลของกิ่งตอน ให้เนื้อเยื่อเจริญชิดกัน พันด้วยเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกพันให้แน่น จากนั้นประมาณ 45 วัน รอยแผลเชื่อมติดกันสนิทให้ตัดยอดต้นรากที่อยู่เหนือรอยแผลออก เทคนิคการติดตา ต้นตอที่ใช้สำหรับติดตา ควรมีความแข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ง่าย วิธีการทำ คือ กรีดเปลือกไม้บนต้นตอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วลอกเปลือกออก จากนั้นกรีดและลอกแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเท่ากับแผลบนต้นตอ แล้วนำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอ โดยเอาส่วนตาหงายขึ้น พันด้วยพลาสติกให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำเข้าเพราะอาจเกิดเชื้อราและตายได้



                 วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ใช้ “คำผญา” (ภาษิต) เป็นหลักในการดำเนินชีวิต สอนและถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลัง โดยเลือกคำผญาให้สอดคล้องกับสถานการณ์เช่น “ความซิตกพ่อไฮ่ ให้พ่อไฮ่ลา ความซิตกพ่อนา ให้พ่อนาเว้า ความซิตกหมู่บ้าน ให้เฒ่าแก่ขุนกวนเว้า” แปลโดยสรุปว่า “การที่จะพูดหรือทำเรื่องไหน ควรให้ผู้มีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นคนพูด คนทำ” นอกจากนั้นยังเป็น เป็นหมอธรรมประจำหมู่บ้าน ยึดหลัก “ฮีต 12 คอง 14” ในการดำเนินชีวิตตามจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติของชาวอีสานมาตั้งแต่ครั้ง โบราณ เพื่อเป็นแนวทางให้ลูกหลานได้สืบทอดเป็นวัตรปฏิบัติ


เข้าชม : 1241    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553