[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 57 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายดำรงค์ ทันนาเขตต์


ที่อยู่

             114 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนาอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86190

โทรศัพท์

             081-397-8852

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 ดำ รงค์ ทันนาเขตต์หรือ ลุงแดงเมื่อวัยเด็กเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดคูขุด ตำบลบางหมาก จนจบ ป.4 ต่อมาครอบครัวลุงแดงได้ย้ายมาอยู่ ตำบลบ้านนา ลุงแดงใช้พื้นที่มรดกจากพ่อจำนวน 40 ไร่ ปลูกมะพร้าวเป็นพืชหลัก ต่อมาราคามะพร้าวถูกลง ลุงแดงจึงหันมาปลูกเงาะ เพราะเห็นว่าได้ราคาดี ในปี 2538 ประสบกับภัยพิบัติพายุเกย์ส่งผลให้สวนผลไม้เสียหายเกือบทั้งหมด เหลือไม่ถึงร้อยต้นและราคาก็ไม่ดีเหมือนเดิม ลุงแดงจึงเริ่มปลูกทุเรียนแซมเงาะที่ล้มตาย ช่วงที่ปลูกทุเรียนมีรายได้ดีขึ้น แต่ลุงแดงกลับพบว่า ต้นทุนในการปลูกทุเรียนนั้นก็สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งการใช้ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืช สุขภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรม ลุงแดงจึงคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากวิถีการทำเกษตรของตนเอง รู้ถึงเหตุของปัญหาการทำเกษตรเคมี ในปี 2544 ลุงแดงจึงเริ่มเข้าร่วมโครงการทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้สวนของลุงแดงมีกิจกรรมใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในสวน เช่น การเลี้ยงปลาหมอต้นทุนต่ำ ราคาดี เนื่องจากเป็นปลาที่ได้รับความนิยม มีรสชาติอร่อย และมีพืชผักนานาชนิดตามฤดูกาลที่ ปลูกไว้ตลอดทั้งปีเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง หลังจากที่ลุงแดงหันมาปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบไม่พึ่งสารเคมี และเพิ่มความหลากหลายของการผลิตแบบผสมผสานทำให้สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มราย ได้มากขึ้น สุขภาพยังดีกว่าเดิม ลุงแดงค่อย ๆ ทำเรื่อยมาคอยบำรุงดูแลสวนเป็นอย่างดีจน ในปี 2547 สวนของลุงแดงได้รับรางวัลดีเด่นสาขาไร่นาสวนผสม จังหวัดชุมพร

องค์ความรู้

                 ปุ๋ยหมักจากทลายปาล์ม,การจัดการพื้นที่



                 ปุ๋ย หมักจากทลายปาล์ม การประยุกต์ใช้ทลายปาล์มซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งมีอุปกรณ์และวิธีทำดังนี้ ทลายปาล์ม 1 ตัน ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม นำวัสดุทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เพื่อแบ่งทำ 3 ชั้น โดยชั้นที่ 1 นำทลายปาล์มมาวางเรียงกัน จากนั้นใส่ปุ๋ยยูเรีย ใส่มูลสัตว์ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนกัน หมักไว้ 3 เดือน ต่อท่อเติมอากาศในกองปุ๋ย เพื่อให้เพิ่มอากาศและไม่ให้กองปุ๋ยร้อน ทดแทนการกลับกองปุ๋ย เดือนที่ 4 ก็นำมาใช้ได้



                 การจัดการพื้นที่ จากสภาพสวนผลไม้ ที่ผ่านความล้มเหลวจากการผลิตเพื่อการค้าทำให้ลุงแดงได้ปรับเปลี่ยนวิถีการ ผลิตใหม่ ด้วยการใช้ความรู้ประสบการณ์ในการทำการผลิตใหม่ โดยให้พื้นที่ในสวนสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มตามศักยภาพ โดยแบ่งเป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้มีใช้ได้ตลอดทั้ง ปีและปลูกพืชที่ให้รายได้ตามระยะเวลาต่างกันคือ 1. รายได้รายปี ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ และมะพร้าว 2. รายได้รายเดือน ได้แก่ กล้วยเล็บมือนาง ข่า ขมิ้น ตระไคร้ 3. รายได้รายวัน ได้แก่ พริกไทย ผักเหมียง ชะอม ถั่วฝักยาว แตงกวา คะน้า พริก นอกจากนี้ลุงแดงยังได้ร่วมกับชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณค่าต่อชุมชนทั้งระบบนิเวศ ที่เป็นป่าไม้ ลำน้ำ ที่ต้องการสร้างให้เป็นธนาคารอาหารของชุมชนโดยเฉพาะถ้ำช้างเผือกที่มีความ สวยงาม แต่ยังไม่ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวจากภายนอก เนื่องจากเห็นความสำคัญของความพร้อมของคนในชุมชน


เข้าชม : 1381    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553