[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 59 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายทวีวัตร เครือสาย


ที่อยู่

             206 หมู่ที่ 16 บ้านสระขาว ตำบลละแมอำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86770

โทรศัพท์

             081-270-0216

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 ทวี วัตร เครือสาย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ่อซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการเข้าสู่เส้นทางงานพัฒนาชุมชน เดิมบ้านสระขาว ผู้คนอพยพมาจากหลายถิ่น มุ่งทำมาหากิน เห็นแก่ผลประโยชน์ตนเป็นหลัก กระทั่งมีกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเยาวชนและคนเฒ่า ทั้งภายในและนอกชุมชน และการประยุกต์กิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ผ่านกระบวนการแผนแม่บทชุมชนบ้านสระขาว ทำให้พัฒนาเป็นชุมชนเข้มแข็ง นับแต่ปี พ.ศ. 2543 ได้เป็นแผนแม่บทชุมชนบ้านสระขาว ประกอบด้วย 6 แผนงาน คือ 1. แผนงานด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม 2. แผนงานด้านทุนและสวัสดิการชุมชน 3. แผนงานด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมชุมชน เน้นการต่อยอดผลผลิตภายในชุมชน 4. แผนงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ 5. แผนงานด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้าน 6. แผนงานด้านการเรียนรู้และการศึกษา เพื่อคุณค่าความรู้ชุมชน

องค์ความรู้

                 กระบวนการเรียนรู้แผน แม่บทชุมชน,การจัดเก็บข้อมูลพันธุ์พืชท้องถิ่น,การพัฒนาจากแผนชุมชนสู่ กิจกรรมเลี้ยงสัตว์,การผลิตปุ๋ยชีวภาพ,โรงสีข้าวชุมชน



                 กระบวน การเรียนรู้แผนแม่บทชุมชน 1. ขั้นตอนการจัดทำแผน ตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์คัดเลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 2. การจุดประกายความคิดเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่แกนนำชุมชนในการเข้าร่วมทำแผน 3. การค้นหาแกนนำเพื่อร่วมดำเนินการ สังเกตบุคลิกลักษณะใจสู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ หรือจากการพูดคุยสอบถาม 4. การสร้างเครื่องมือและจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ประมวลผล 5. การจัดกระบวนการเรียนรู้ เช่น การกำหนดประเด็น ตั้งประเด็นการพูดคุย การจับประเด็น การระดมสมอง การสรุปบทเรียนการจัดกิจกรรม ฯลฯ 6. การนำข้อมูลภายในเพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงกับข้อมูลภายนอก และวางแผนงาน โครงการ กิจกรรม การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ การพัฒนาปรับปรุงแผน การประสานแผน



                 ด้านพันธุ์พืช หลังจากการจัดเก็บข้อมูลพันธุ์พืชท้องถิ่นและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องโดย เฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงนำไปสู่การวางแผนสร้างสวนพฤษศาสตร์ชุมชนและการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น เพื่อเป็นอาหารและยา และพัฒนาสู่การตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืชบ้านสระขาว และเชื่อมประสานการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและกระบวนการจัดทำแผนชุมชนให้แก่เยาวชน การพัฒนาจากแผนชุมชนสู่กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ จากฐานข้อมูลการบริโภคเนื้อสัตว์ และรวมตัวกลุ่มเป็นธรรมชาติ พัฒนาไปสู่รูปแบบกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล โดยเริ่มจากกิจกรรมการเลี้ยงแพะ ( ด้วยเพราะไม่ได้ศึกษาข้อมูลและปัจจัยที่มากระทบต่อการเลี้ยง ความเหมาะสมกับพื้นที่ อาชีพเดิมของสมาชิก ทำให้ไม่ประสบผลความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็เกิดบทเรียนสำคัญทั้งในกระบวนการสัมพันธ์กับรัฐ การใช้กฎหมายมาเกี่ยวข้องกับวิถี การสรรหาคัดเลือกผู้ที่จะมาดำเนินงานในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง การวิเคราะห์ทางเลือก ทางออก แนวทางการทำงานแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมนั้น ) และต่อมาพัฒนาสู่กิจกรรมการเลี้ยงหมู และปลา ซึ่งสอดคล้องกับวิถีมากขึ้น เกิดประโยชน์โดยตรงกับสมาชิกและชุมชน องค์ความรู้ของสมาชิกมีมากพอต่อการดำเนินการ จึงทำให้กิจกรรมขับเคลื่อนไปได้ และไก้ประสานความร่วมมือกับ มอ. สงขลา มาหนุนช่วยในกระบวนการกลุ่ม เทคโนโลยีชาวบ้าน เช่น การตรวจวัดค่าน้ำ การผลิตอาหารด้วยวัสดุท้องถิ่น การใช้วัคซีน ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าของกิจกรรมไปได้มายิ่งขึ้น มีคนเป็นตัวอย่างในการทำกิจกรรม อย่างน้อย ถึง ๗ ราย ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการขยายผลเรื่องนี้ ณ เวลานี้ ตลาดหมูพื้นบ้านบ้านสระขาวเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สมาชิกรุ่นหลังจึงไม่ยกลำบากต่อการสร้างการตลาดใหม่



                 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ริเริ่มจากคนที่สนใจเรื่องนี้ มีแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล้านำ กล้าทำ กล้าลอง เพียง ๕ ราย ในการซื้อวัสดุมาผลิตกันเอง ใช้การลงแรงกันทำ จนผลิตปุ๋ยได้ไว้ใช้ในสวนของตนเอง จนสามารถก่อตัวเป็นกลุ่ม มีการลงหุ้น ตั้งกองทุนหมุนเวียนซื้อวัสดุดิบ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อเป็นขวัญ กำลังใจแก่สมาชิก เพิ่มกำลังการผลิตที่ไม่มากเกินไปแก่ศักยภาพของพื้นที่ แต่ยังคงเน้นการมาร่วมกันทำด้วยแรงงานคน ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามวิถี จึงเกิดการพัฒนากิจกรรมอื่น ๆ ตามมา เกิดการเปลี่ยนแปลงการขยายผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น ด้วยเพราะเหตุสองประการ หนึ่ง ตัวอย่างแปลงเกษตรที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพมีความเขียวขจี โครงสร้างของดินดีขึ้น ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี หรือ บางแปลงไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลยเป็นเวลาสองสามปี อีกประการหนึ่งด้วยเพราะราคาปุ๋ยเคมีทีสูงขึ้น ซึ่งมีแปลงตัวอย่างจำนวน ๑๓ แปลง เป็นจุดเรียนรู้ของเกษตรกร



                  โรงสีข้าวชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนแม่บท และได้มีการจัดทำข้อมูลใหม่ในปี ๕๐ การจัดเก็บข้อมูลรายจ่ายของครัวเรือน พบว่า บริโภคข้าวสารปีละ ๘๐๐ ถังต่อเดือน ปี ละ ๙๖,๐๐๐ ถัง คิดเป็นมูลค่าปีละ ๓.๖ ล้านบาท เน้นการใช้ทุนในพื้นที่เพื่อการพึ่งตนเอง ใช้เงินจากกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ( ไม่กู้ยืมจากภายนอก) การบริจาคที่ดินของชาวบ้าน ดำเนินการให้เป็นเรื่องสาธารณะ เชื่อมโยงสู่กิจกรรมอื่น คือ การหนุนเสริมการเลี้ยงสัตว์ ด้วยการสร้างวัตถุดิบ( รำข้าว/ปลายข้าว)ขึ้นในพื้นที่ กิจกรรมปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้แกลบมาผลิตปุ๋ย กระบวนการดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ต้องผ่านการพูดคุย การศึกษาหาข้อมูล การวิเคราะห์ ทั้งในระดับแกนนำ กลุ่ม ประชุมหมู่บ้าน ได้มีการพูดคุยคิดค้นแสวงหาแนวทางป้องกัน ด้วยการเตรียมการในการผลิตข้าวเปลือกเอง อาจโดยการเช่าที่นา หรือ การรื้อฟื้นผลิตข้าวไร่ และอาจจะมีแนวทางอื่น ๆ หลังจากการไปศึกษาเรียนรู้นอกพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องข้าวซึ่งยังจะเป็น เครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญต่อไป


เข้าชม : 1423    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553