[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 65 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายอภินันต์ หมัดหลี


ที่อยู่

             เลขที่ 13/1 หมู่ที่ 6 บ้านบนควน ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180

โทรศัพท์

             084-859-9849

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 อภิ นันต์ หมัดหลี หรือ บังนันต์ อดีตประกอบอาชีพค้าขายในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีรายได้ดี แต่กลับมีไม่พอใช้จ่าย ซ้ำชีวิตยังต้องดิ้นรนแข่งขันอยู่ตลอดเวลา หากเทียบกับป๊ะหรนผู้เป็นพ่อซึ่งทำเกษตร แล้วพบว่า มีรายได้ทุกวันแม้จะไม่มากแต่มีอาหารกินอุดมสมบูรณ์และใช้ชีวิตอย่างมีความ สุขใช้ชีวิตอยู่กับบ้านเกิด บังนันต์จึงตัดสินใจชวนภรรยากลับมาประกอบอาชีพและเรียนรู้วิถีเกษตรเหมือ นป๊ะหรน นอกจากบังนันต์จะบ่มเพาะประสบการณ์การทำเกษตร และพัฒนาให้เกิดสังคมป่าภายในสวนของตนเองแล้ว ยังได้แบ่งปันและสละแรงกาย แรงความรู้ในการสร้างระบบป่าต้นน้ำให้กับชุมชน ทั้งยังเปิดโอกาสให้ลูกชายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำ ตำบลเขาพระโดยชักชวนเยาวชนรวมกลุ่มทำโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาพระ และร่วมกันออกกฎระเบียบในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำอีกด้วย

องค์ความรู้

                 การทำเกษตรแบบธาตุ 4



                 อาจกล่าว ได้ว่าแนวคิดในการทำสวนของบังนันต์ ได้ถอดแบบมาจากความรู้และประสบการณ์ของป๊ะหรน คือ เริ่มต้นด้วยการปลูกกล้วยเป็นพืชเบิกนำ ไม่ตัดทำลายต้นไม้ที่มีอยู่เดิมพร้อมทั้งศึกษาว่าต้นไม้ที่มีอยู่แต่ละต้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้ จากนั้นจึงหาพืชชนิดอื่นมาปลูกเพิ่มให้มีความหลากหลาย นำความรู้เรื่องเกษตรธาตุ 4 มาประยุกต์ใช้ในสวน ปลูกไม้ด้วยเมล็ดจะทำให้ได้ต้นไม้ที่แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง ตลอดจนทนต่อสภาพภูมิอากาศ ด้วยเทคนิคในการเลือกเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะ คือ ต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ไม่มีรอยของสัตว์แทะ เป็นเมล็ดที่อยู่ใกล้กับส่วนกลางของผล หรือส่วนหัว ทั้งการจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสม คือ ดูลักษณะโครงสร้างของลำต้นและระบบราก เพราะลักษณะทรงพุ่มของต้นไม้แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน พืชที่ระบบรากและทรงพุ่มต่างกันจะสามารถปลูกร่วมกันได้ดี นอกจากนี้ยังแยกพืชตามลักษณะการออกผล คือ ออกผลที่ลำต้น กิ่ง หรือ ปลายยอด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการจัดระบบการปลูกพืชให้อยู่ร่วมกันได้ดี จากการทำเกษตรแบบธาตุ 4 ได้ทดลองและพัฒนา สู่การทำเกษตรแบบประณีต เน้นการใช้ที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาเป็นการปลูกพืช 12 ชั้น ตามลักษณะเด่นและการเจริญเติบโตของพืช คือ ชั้นที่ 1 พืชหัว ได้แก่ กระชาย ข่า ชั้นที่ 2 พืชผิวดิน ได้แก่ ตระใคร่น้ำ แพลงตอน คอยให้ความชุ่มชื้นให้กับดิน ชั้นที่ 3 พืชคลุมดิน ได้แก่ โด่ไม่รู้ล้ม ปราบธรณี และพวกสมุนไพรต่าง ๆ ชั้นที่ 4 พืชสูงกว่าชั้นคลุมดิน ได้แก่ บัวบก ผักบุ้ง ชั้นที่ 5 พืชพุ่มเตี้ย ได้แก่ พริก กระเพรา ชั้นที่ 6 พืชทรงพุ่มขนาดกลาง ได้แก่ เหมียง ตกเบ็ด ชั้นที่ 7 พืชลำต้นทรงสูงเป็นพืชเส้นใย ได้แก่ หมก มะพร้าว เต่าร้าง ไม้ไผ่ ชั้นที่ 8 พืชทรงพุ่มขนาดใหญ่ ได้แก่ มังคุด ก้างปลา ชั้นที่ 9 พืชชั้นกลาง ได้แก่ สะตอ ทุเรียนพื้นเมือง ชั้นที่ 10 ไม้ใช้สอย ได้แก่ ตะเคียนทอง จำปา ยางนา ชั้นที่ 11 ไม้เกาะเกี่ยว ได้แก่ กล้วยไม้ป่า พริกไทย ชั้นที่ 12 ไม้เถา ได้แก่ ย่านสะบ้า ย่านปาล์มหมี




เข้าชม : 2412    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553