ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 46 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายเดช ภูสองชั้น


ที่อยู่

             เลขที่ 19 หมู่ที่ 15 บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45130

โทรศัพท์

             089-576-4414

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 เกิด ในครอบครัวของชาวนา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากนั้นบวชเรียนและสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม จนได้รับการยอมรับ ความศรัทธาจากคนในชุมชน ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ประธานธนาคารข้าว ประธานกลุ่มออมทรัพย์ ประธานสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินสุวรรณภูมิ 2 จำกัด สมาชิกสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษายุวเกษตรดีเด่นจังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนั้น ยังได้รับโล่ในระดับประเทศ คือ โล่อาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โล่เกษตรกรดีเด่นในเขตปฏิรูปที่ดินจากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ยังเป็นผู้มีความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เขียนหนังสือเรื่อง “ฅนทุ่งกุลา” บอกเล่าความเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ผนวกกับบทกวี และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เป็นหมอพราหมณ์ ทำขวัญนาค และบายศรีสู่ขวัญ มีความตระหนักและใส่ใจในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสาน การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การเพิ่มรายได้ในครอบครัว โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เป็ด ไก่ ปลา วัว เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นแกนนำร่วมกับสมาชิกชุมชนดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร ปลูกฝังการอยู่อย่างพอเพียง เพื่อที่จะนำพาครอบครัวให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่มีหนี้สิน และยังนำมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยเป็นการลดต้นทุนอีกทางหนึ่ง ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่หลากหลายชนิด รวมทั้งพืชเศรษฐกิจ ซึ่งนำสู่เป้าหมายให้การทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงเชิงรูปธรรมมากขึ้น พร้อมทั้งให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ในเรื่องของการทำการเกษตร และเป็นการสร้างฐานของครอบครัวที่พึ่งพาตนเองได้ องค์ความรู้

องค์ความรู้

                 การเลี้ยงเป็ด,เกษตรผสมผสาน



                 การ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงเป็ดต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำและอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยง การคัดเลือกพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์กากี มีลักษณะแข็งแรง มีสีกากีหรือสีน้ำตาล ลำตัวเรียว คอยาว แววตาใสเป็นประกาย ผู้เลี้ยงต้องมีเวลาในการดูแลเป็ดมากพอสมควรโดยเฉพาะในระยะอนุบาลลูกเป็ด 10 วันแรก ให้หัวอาหาร หลังจากนั้นผสมปลายข้าวให้กิน ไม่ควรให้น้ำกินตลอดเวลา เพราะลูกเป็ดชอบเล่นน้ำ จะทำให้ขนเปียกอาจเป็นโรคปอดปวม เมื่อถึงระยะ 1 - 2 เดือน จึงให้รำหยาบ อายุ 5 - 6 เดือน เป็ดจะเริ่มให้ไข่ ควรให้รำละเอียดผสมกับปลายข้าวเพื่อป้องกันรังไข่หลุดออกจากก้นของเป็ด แต่ในกรณีที่เป็ดไข่ จนก้นหลวมหรือรังไข่หลุดออกมา ควรจับมาตรวจดู และบีบรำหยาบออกจากก้นเป็ด ทำความสะอาดให้เรียบร้อยแล้วจับเอาหัวเป็ดหย่อนลง ยัดรวงไข่เข้าก้นเหมือนเดิม อัตราส่วนการผสมอาหาร ปลายข้าว 1 ส่วน รำละเอียดหรือรำผสม 1 ส่วน ผสมน้ำพอหมาด ๆ ส่วนการทำเล้า รองพื้นด้วยแกลบ หนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อลดความชื้น และสามารถนำมูลเป็ดมาใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น การดูแลเป็ด ควรล้างภาชนะใส่อาหารและน้ำทุกเช้า และพึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้ต่อไป เก็บไข่เป็ดทุกวันในช่วงเช้า ในกรณีที่เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเป็ด ให้รีบหาสาเหตุและหาวิธีการแก้ไขทันที



                 เกษตรผสมผสาน เน้นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยจัดอาหารของสัตว์เลี้ยง ให้กินร่วมกันได้ จึงถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการเพื่อทำให้เกิดการเกื้อกูลหมุนเวียนภายใน แปลงอย่างมีประสิทธิภาพ พ่อเดช เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาในการทำการเกษตร ถ่ายทอดกระบวนการโดยเป็นวิทยากรบรรยาย และสอนปฏิบัติ ทั้งเป็นแปลงต้นแบบในเรื่องการทำเกษตรผสมผสาน




เข้าชม : 1503    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553