ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 48 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายปรีชา ทองอู๋


ที่อยู่

             38 หมู่ที่ 10 บ้านโคกผักหวาน ตำบลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

โทรศัพท์

             081-320-3364

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 “การ ทำสวนเป็นเรื่องของการบ่มเพาะ และเป็นการศึกษาภูมิปัญญาการพึ่งตนเองของเกษตรกร” ปรีชา ทองอู๋ หรือน้าอู๋ เป็นลูกชาวสวนย่านฝั่งธนบุรี จบนิติศาสตร์ และศึกษาต่อในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความสนใจงานพัฒนาชนบท จึงเข้าร่วมทำงานในโครงการศึกษาเสริมศักยภาพชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน (มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา) จากประสบการณ์ 5 ปี ที่ได้คลุกคลีอยู่กับวิถีชีวิตเกษตรกรภาคอีสาน พบว่าคนอีสานมีน้ำใจ มีภูมิปัญญาที่น่าศึกษา และหลังจากโครงการฯ สิ้นสุด ด้วยใจรักอิสระ และต้องการค้นหาชีวิตทางเลือก ที่สามารถพึ่งตนเองได้ น้าอู๋ออมเงินจัดซื้อที่ดินก่อตั้ง”สวนไทเกษตร” ใน ปี พ.ศ. 2528-2531 เพื่อทำเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ ตำบลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 19 ปี จนเกิดความมั่นใจว่าการเป็นเกษตรกรก็สามารถเลี้ยงชีวิตตนเองให้รอดได้ น้าอู๋ กล่าวว่า “การทำสวนเป็นการบ่มเพาะภายใน และเป็นการศึกษาภูมิปัญญาการพึ่งตนเองของเกษตรกร สังคมไทยให้ค่าเกษตรกรเป็นผู้ที่ต้องคอยรับการส่งเสริมช่วยเหลือตลอดเวลา แต่เหตุใดเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ผลิต ยังไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้จริง” เมื่อกิจกรรมในสวนเริ่มอยู่ตัว สวนไทเกษตรได้มีโอกาสทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนมากขึ้น จนเกิดงานที่เป็นที่รู้จักกันในนามของ โครงการอนุรักษ์ภูผาขาว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชนในการอนุรักษ์ภูผาขาวให้ยั่งยืน โดยเริ่มจากกลุ่มอาสาสมัครป้องกันไฟป่าบ้านโคกผักหวาน และขยายกิจกรรมออกไปในหมู่บ้านข้างเคียงจาก 1 ชุมชนเป็น 8 ชุมชน และ16 ชุมชน รวมเป็นระยะเวลา 13 ปี ถึงปัจจุบัน สมาชิกในแต่ละชุมชน ได้ก่อตั้งเป็นเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ภูผาขาว ทำหน้าที่ดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูรักษาภูผาขาวในพื้นที่ 8,210 ไร่ ให้เป็นสมบัติของลูกหลานต่อไปในอนาคต ทุกวันนี้พี่ปรีชาดำเนินชีวิตพอเพียง ปลูกข้าวกินเอง มีพืชผักนานาชนิดไว้กิน มีหมู่มิตร และเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ภูผาขาวที่จะร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนสืบไป โดยตั้งใจไว้ว่า “จะดำรงทรัพยากรและภูมิปัญญา ร่วมพัฒนาชุมชน หวังผลเชิงนโยบาย”

องค์ความรู้

                 การทำเกษตรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน,กระบวนการสร้างองค์กรชุมชน และเครือข่าย,การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม



                 การ ทำเกษตรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สร้างสวนธรรมชาติจากการปรับพื้นที่ทำไร่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น และไม้ป่านานาชนิด และปลูกพันธุ์ไม้ต่าง ๆ แซมลงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ปลูกข้าวเป็นอาหารหลักของครอบครัว การเพาะปลูกพืชทุกชนิดจะไม่ใช้สารเคมี ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินที่ปกคลุมไปด้วยพรรณไม้ที่หลากหลายสามารถตอบ สนองด้านปัจจัย 4 ได้อย่างไม่ขาดแคลน



                 กระบวน การสร้างองค์กรชุมชน และเครือข่าย เริ่มจากการรวมกลุ่มของคน ดำเนินงานอย่างเป็นระบบจนกระทั่งประสบความสำเร็จ ทำให้เป็นแบบอย่าง กระทั่งสามารถดึงเอาคนจากพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมกันทำงาน



                 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เดินทางตามวิถีชีวิตเชิงพุทธของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ


เข้าชม : 1452    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553