ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 51 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นางพิมพ์ โถตันคำ


ที่อยู่

             เลขที่ 93 หมู่ที่ 3 บ้านนาขาม ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

โทรศัพท์

             087-048-4124

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 แม่ พิมพ์ โถตันคำ เดิมเป็นคนกาฬสินธุ์ หลังสมรสกับนายทอง โถตันคำ ซึ่งเป็นคนสกลนคร จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาสร้างครอบครัวที่บ้านนาขาม ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังสามีเสียชีวิต ต้องหาเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน มารับจ้างที่กรุงเทพมหานคร นาน 3 ปี จึงหันกลับบ้าน หวังจะดูแลลูกและอยู่ด้วยกันด้วยความอบอุ่น เริ่มศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรผสมผสาน จากปราชญ์ชาวบ้านเครือข่ายอินแปง พ่อเขียน ศรีมุกดา ให้แนวคิดการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักที่กินในชีวิตประจำวัน แม่พิมพ์จึงได้นำความรู้มาดำเนินกิจกรรมในแปลงเกษตรของตนเอง เริ่มจากขยายคันนาให้กว้างเพื่อปลูกพืชผัก และจัดสรรให้มีป่าหัวไร่ปลายนา อุตสาหะหาบน้ำรดพืชผัก กระทั่งออกดอกผลงดงาม หลังทำเกษตรผสมผสานได้ผลดี แม่พิมพ์แบ่งปันความรู้ ขยายแนวคิดเกษตรผสมผสาน คันนาใหญ่และวิถีการพึ่งตนเองไปยังญาติพี่น้อง ชักชวนมาลองดู มาลองทำ เป็นแบบอย่างของชุมชน หวังให้ชุมชนที่อยู่และชุมชนรอบข้างมีข้าว มีปลากินอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่สำหรับปลูกป่าหัวไร่ปลายนา ด้วยหวังว่าเมื่อปลูกป่าให้เป็นดง หมู่หงส์จะคืนนา หมู่ปลาจะคืนน้ำ แม่พิมพ์ มีองค์ความรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสาน บริหารจัดการทรัพยากรที่มีในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างพื้นที่ของตนเองซึ่งแต่ก่อนเป็นพื้นที่ทำนาทั้งหมด มาเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน โดยขยายคันนา ให้กว้างประมาณ 4 เมตร สูง 1 เมตร สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ ไม้ผล สมุนไพร ไม้ใช้สอย จัดสรรพื้นที่สร้างแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในแปลงเกษตร เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ยังคงการทำนาไว้ แต่เปลี่ยนเป็นการทำนาอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีการสร้างมูลค่าและคุณค่าของผลผลิตทางการเกษตร เช่น การทำข้าวฮาง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวนาสมัยก่อน มีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก ถ้าปีใดเกิดภัยแล้ง ข้าวที่เก็บในยุ้งฉางไม่เพียงพอต่อการบริโภค ต้องหาวิธีนำข้าวที่กำลังจะสุกเต็มที่มารับประทาน จึงได้นำข้าวมาทำเป็นข้าวฮาง จะได้ข้าวที่มีกลิ่นหอม นุ่ม น่ารับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

องค์ความรู้

                 การทำข้าวฮาง



                 การ ทำข้าวฮาง 1. ข้าวฮางสามารถทำได้ทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว โดยใช้ข้าวเริ่มจะสุกแก่ หรือข้าวระยะพลับพลึง นำข้าวไปแช่น้ำสะอาด 12 ชั่วโมง เพื่อคัดแยกเมล็ดลีบและสิ่งเจือปนออก 2. นำข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่น้ำแล้วไปนึ่ง ประมาณ 40 นาที เมื่อนึ่งเสร็จ ราดด้วยน้ำเย็นทันทีให้ทั่ว ทำซ้ำ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังการนึ่งเสร็จ ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 20 นาที แล้วผึ่งลม แต่ไม่ควรนำผึ่งแดด 3. การแปรรูป เป็นกระบวนการสุดท้ายของการผลิตข้าวฮาง ซึ่งจะต้องอาศัยความชำนาญมากเพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวแตกหัก มีวิธีการปฏิบัติ คือ การสีด้วยโรงสีขนาดเล็ก หรือเครื่องสีข้าวมือหมุน การตำด้วยครกตำมือ หรือครกกระเดื่อง 4. การบรรจุหีบห่อถ้าบรรจุในภาชนะธรรมดาเก็บรักษาไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ เก็บได้นาน 3 เดือน ถ้าบรรจุระบบสุญญากาศ สามารถเก็บได้นาน 1 ปี วิธีการหุงข้าวฮาง 1. ซาวข้าวโดยไม่ต้องใช้น้ำมาก ซาวเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้วิตามินละลายไปกับน้ำ สำหรับข้าวเหนียวให้นำไปแช่ในน้ำสะอาด ประมาณ 1- 2 ชั่วโมง 2. ใส่น้ำอัตราส่วน ข้าวฮาง 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน เมื่อหุงแล้วจะได้ข้าวค่อนข้างนุ่ม โดยหุงแบบไม่เช็ดน้ำ สำหรับข้าวเหนียวสามารถนำไปหุงได้เลย แม่พิมพ์ยังมีความสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นของทางภาคอีสาน ด้วยกลอนลำ บอกเล่าถึงวิถีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และผลจากการดำเนินกิจกรรม อย่างน่าประทับใจ




เข้าชม : 2086    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553