ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 61 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายลาภ ชูเมือง


ที่อยู่

             เลขที่ 87 หมู่ที่ 11 บ้านควนตอ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130

โทรศัพท์

             089-589-6114

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 นาย ลาภ ชูเมือง ผู้ใหญ่บ้านควนตอ อดีตโชเฟอร์รถสิบล้อที่กลับคืนสู่วิถีเกษตร จากชีวิตที่ต้องกินอาหารเต็มไปด้วยสารพิษ จนร่างกายรับไม่ไหว จึงเกิดแนวความคิดปรับผืนดินที่ทำเกษตรมุ่งขาย แบ่งพื้นที่ผลิตอาหารสะอาด และปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในครอบครัว และขยายฐานคิดการผลิตอาหารปลอดภัยไปยังชุมชนหมู่บ้าน เพื่อการพึ่งตนเองด้านปัจจัย 4 คือ 1. อาหารสะอาด จากการเลี้ยงปลา ปลูกข้าว และผักพื้นบ้าน 2. เครื่องนุ่งห่ม ฟื้นวิถีการทอผ้า และยังเป็นการสืบต่อภูมิปัญญาคนรุ่นเก่าสู่เยาวชนรุ่นใหม่ 3. สมุนไพร จากพืชผักพื้นบ้าน รวบรวมเป็นสวนสมุนไพรชุมชน และการต่อยอดองค์ความรู้สมุนไพรกับเครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ ส.ป.ก. ภาคใต้ 4. ที่อยู่อาศัย ใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า ปรับจากการปลูกยางพาราหรือสวนผลไม้เพียงอย่างเดียวให้เป็นสวนสมรม หลากหลายด้วยพืชที่จำเป็นต้องกิน ต้องใช้ในครัวเรือน ทั้งยังสร้างสมรมในองค์ความรู้ เป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน พ่อลาภยังเป็นประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล และแกนนำในการพัฒนาชุมชน โดยใช้องค์ความรู้การทำเกษตรผสมผสาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร การบริหารจัดการองค์กรชุมชน และทรัพยากรท้องถิ่น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปั้นเม็ด การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การบริหารจัดการเครือข่ายและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน พัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กระตุ้นให้ชุมชนเกิดกระบวนการพึ่งตนเองด้านปัจจัย 4 โดยเช่าพื้นที่สำหรับทำนา ฟื้นวิถีการทำนา ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ผลิตอาหารปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในครัวเรือนและชุมชน ฟื้นภูมิปัญญาการทอผ้า และการจัดการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำสวนสมรม รวมพืชพร้อมรวมจิตใจคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

องค์ความรู้

                 วิธีการเลี้ยงปลาดุก ,ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปั้นเม็ด



                 วิธี การเลี้ยงปลาดุก 1. ขุดดินลึก 0.5 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ปูแผ่นพลาสติกบริเวณก้นบ่อ ใส่น้ำหมัก พ.ด. 2 1 ลิตร จากนั้นใช้ขี้วัวตากแห้งใส่กระสอบ แช่น้ำในบ่อประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อเกิดแพลงตอน หรือน้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวแล้วจึงเอากระสอบขึ้นจากบ่อ 2. นำลูกปลาเลี้ยงในบ่อ ปลา 500 ตัว / บ่อ เปลี่ยนน้ำ 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ น้ำเลี้ยงปลาสามารถนำไปรดพืชผักสวนครัวที่ปลูกไว้ เป็นปุ๋ยอย่างดี บริเวณบ่อเลี้ยงปลาสามารถปลูกผักบุ้งไว้บริโภคได้อีกด้วย 3. การจับปลาดุกขาย หากต้องการเลือกจับบางตัวก็จะปล่อยน้ำเข้าเพื่อให้ปลาขึ้นเล่นน้ำ แล้วใช้สวิงเลือกตักขนาดที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้ปลาไม่ตกใจ และกินอาหารได้ดีเป็นปกติ แต่หากจะจับทั้งบ่อ จะปล่อยน้ำออกหมดทั้งบ่อแล้วใช้สวิงตัก ขายเป็นปลาสด หากขายไม่หมดก็จะนำมาทำปลาแดดเดียว



                 ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปั้นเม็ด ส่วนผสม คือ ขี้ไก่ 75 กก. ขี้วัว 25 กก. ฮิวมัสหรือตะกอนจากกากปาล์มน้ำมัน 105 กก. รำข้าว 20 กก. โดโลไมท์ขนาด 100 เมซ ขึ้นไป 25 กก. เพื่อช่วยลดสภาพความเป็นกรดและปรับสภาพดิน เพิ่มธาตุอาหารแคลเซียม แมกนีเซียม และยังช่วยให้ปุ๋ยจับตัวดีขึ้นอีกด้วย น้ำหมักจุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลาย เพิ่มธาตุอาหาร โดยน้ำหมักจุลินทรีย์ซึ่งมีวิธีการทำ คือ ปลา 100 กก. กากน้ำตาล 25 กก. น้ำ 10 – 20 กก. สารเร่ง พ.ด. 2 ขนาด 25 กรัม 1 ซอง ผสมในถังหมัก กวนทุกๆ 1 – 2 วัน ทิ้งไว้นาน 3 สัปดาห์ จึงนำไปใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปั้นเม็ด มีวิธีการทำ คือ - นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน เทใส่จานปั้นเม็ด - จากนั้นผสมน้ำหมักจุลินทรีย์เข้มข้น 2 ลิตร กับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในขณะปั้นเม็ด เพื่อให้ผงปุ๋ยค่อยๆ รวมตัวกันเป็นเม็ด เมื่อปั้นเม็ดปุ๋ยแล้ว นำไปผึ่งลมในที่ร่ม กลับกองทุกวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงนำไปใช้ได้ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรนี้ สามารถใช้ได้ดีทั้งยางพารา และพืชสวน โดยมีวิธีการใช้คือ สำหรับสวนยางพาราใช้ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลง จะช่วยปรับโครงสร้างดิน สำหรับพืชสวน เช่น ในสวนทุเรียน ใช้ในอัตราส่วน 200 กิโลกรัมต่อไร่ จะช่วยเพิ่มความหวานให้กับทุเรียน


เข้าชม : 2460    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553