ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 64 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายบุญชู เพชรรักษ์


ที่อยู่

             เลขที่ 23 หมู่ที่ 5 บ้านนาทราย ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

โทรศัพท์

             086-653-4047

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 ทุก ครั้งที่ได้ยินเสียงชายวัยหกสิบเศษคนนี้จับไมค์ พูดต่อสาธารณชน หลายคนอาจฟังด้วยความขบขันเฮฮา แต่คำพูดที่บอกกล่าวแบบง่ายๆ นี้ มาจากหัวจิตหัวใจที่ลุงชู หรือบุญชู เพชรรักษ์ มีให้กับทุกคน และชุมชนที่อาศัยอยู่ ด้วยความรักและความปรารถนาดีที่อยากเห็นชุมชน อยู่ดี กินดี และสู่ปลายทางที่ชุมชนนี้พึ่งตนเองได้ แม้จะเรียนเพียงชั้นประถม 4 แต่ด้วยความเป็นคนใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ลุงชูจึงสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลป่าพะยอม เพื่อเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการ เรียนรู้สังคม รู้จักผู้คน หน่วยงาน องค์กรอื่นมากขึ้น มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล รวมทั้งประสบการณ์การทำงานในบทบาทผู้นำชุมชนหลากหลายด้าน โดยเฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีป้าขิ่น ภรรยาคอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจ จากผู้นำชุมชนนำมาซึ่งบทบาทการประสานความร่วมมือกับหลายๆ หน่วยงานเพื่อการขับเคลื่อนงานของชุมชนป่าพะยอม จากจุดนี้เองนำมาสู่การเป็นมือประสานสิบทิศ เมื่อหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง ส.ป.ก. ต้องการทำงานพัฒนาในพื้นที่ ตำบลป่าพะยอม ทุกหน่วยงานต่างมองว่า ควรจะเริ่มที่ลุงชูก่อน ให้บ้านลุงชูเป็นศูนย์กลางการทำงานพัฒนา แล้วขับเคลื่อนขยายผลไปทั้งตำบล บ้านของลุงชูเปรียบเสมือนฐานทัพขับเคลื่อนงานพัฒนา ซึ่งมีหลักการทำงาน กระตุ้นให้ชุมชนลงมือสร้าง ลงมือทำงานอย่างจริงจังก่อน แล้วหน่วยงานหรือองค์กรอื่นจะเข้ามาร่วมมือ ขยายผลภายหลัง ผลจากการประสานความร่วมมือครั้งสำคัญของลุงชู คือ งานขับเคลื่อนชุมชนพึ่งตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากสำรวจทรัพยากรที่ชุมชนมีทั้งความรู้ ผลผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ สำรวจความต้องการของชุมชน ของกินและของใช้ สิ่งใดที่ชุมชนยังขาดก็ประสานความร่วมมือไปยังองค์กร หน่วยงาน เพื่อเสริมทั้งองค์ความรู้และกระบวนการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ชุมชนป่าพะยอมมีกิจกรรมเพาะเห็ดฟาง แปรรูปข้าวสังข์หยด เลี้ยงหมูหลุม ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ แปรรูปกล้วยไข่ และเพาะพันธุ์ผักพื้นบ้าน กิจกรรมที่มีในชุมชนนี้ล้วนมุ่งให้ชุมชนผลิตของกินของใช้โดยใช้ทรัพยากรที่ มีอยู่ ลดการพึ่งภายนอก ให้ชุมชนป่าพะยอมเป็นชุมชนพึ่งตนเอง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

องค์ความรู้

                 สูตรปุ๋ยชีวภาพ,กลุ่มผลิตข้าวสังข์หยด



                 สูตร ปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากการะบวนการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงาน เป็นสูตรสำหรับผักสวนครัว และผลไม้ ประกอบด้วย มูลวัว 10 กระสอบ มูลหมู 10 กระสอบ แกลบ 5 กระสอบ รำ 10 กิโลกรัม ผักตบชวาสดตัดหยาบ 5 กระสอบ ผสมให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำ 50 ลิตร กับกากน้ำตาล 2 ลิตร พด.1 พด.2 และ3 อย่างละ 1 ซอง เสร็จแล้วหมักทิ้งไว้ 45 วัน ใช้รองก้นแปลงผักสวนครัว หรือสวนผลไม้



                 ความสำเร็จในการประสานความร่วมมือ ของลุงชูที่เห็นชัดเจน ปรากฏขึ้นเป็นกลุ่มความร่วมมือ และกลุ่มอาชีพหลายๆ ด้านที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของสมาชิกชุมชนและหน่วยงานของรัฐ เช่น กลุ่มเพาะชำกล้าผักกูด พริกและมะเขือ เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มผักปลอดสารพิษชุมชน กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจำหน่ายและปันผลให้กับสมาชิกและสมาชิกเครือข่าย ปราชญ์เกษตร กลุ่มทำนาข้าวสังข์หยดผลิตข้าวให้กับกลุ่มแปรรูปข้าวซ้อมมือ กลุ่มปลูกกล้วยไข่ผลิตกล้วยไข่จำหน่ายให้กับกลุ่มแปรรูปกล้วยไข่ ซึ่งทุกกลุ่มของชุมชนล้วนแล้วแต่ทำงานบนฐานการประสานเกื้อกูลกันทั้งด้าน ทรัพยากรและความร่วมมือ และที่สำคัญ คือ กลุ่มผลิตข้าวสังข์หยดเป็นข้าวซ้อม ทำให้คนในชุมชนนิยมบริโภคข้าวสังข์หยดเพิ่มมากขึ้น มีรายได้เสริมและมีสุขภาพที่ดี จากการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ข้าวสังข์หยดซ้อมมือ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ พลังงาน (กิโลแคลอรี่) 364.22 โปรตีน (กรัม) 7.3 ไขมัน (กรัม) 2.42 คาร์โบไฮเดรท (กรัม) 78.31 ใยอาหาร (กรัม) 4.81 วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม) 0.32 วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม) 6.46 ที่มา : การพัฒนาการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง วัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตข้าวซ้อมมือ เช่น รำ แกลบ ยังนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ในชุมชม ทั้งนำมาเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มผู้เลี้ยงหมูหลุม แกลบใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพทั้งแบบผง และแบบเม็ด จากแนวคิดให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในการดำเนินชีวิตประจำวันก่อน ในด้านอาหาร และอาชีพ ผ่านกระบวนการสำรวจข้อมูลการบริโภคภายในชุมชน สิ่งที่ชุมชนต้องพึ่งจากภายนอก แล้วเรียนรู้เพื่อผลิตทดแทน พร้อมลดการซื้อจากนอกชุมชน รวมทั้งพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นอาชีพเสริม เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น นำคน นำชุมชนให้รวมกัน




เข้าชม : 2484    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553