ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 29 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายสุพจน์ ศรีไสยเพชร


ที่อยู่

             461 หมู่ที่ 5 ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 60150

โทรศัพท์

             081-174-5261

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 จบ การศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์ในรั้วหมาวิทยาลัยด้วยการจัดกิจกรรม จัดค่ายพัฒนาเยาวชน ชนบท และการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นการทำงานที่สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานหนังสือวิชาการ ก่อนออกมาทำงานโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดิน ได้เรียนรู้การทำงานส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ภายใต้การเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับการทำงานดังกล่าว ทำให้เกิดองค์ความรู้และการตกผลึกทางความคิด ลาออกมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว นำความรู้ และประสบการณ์ที่มี มาประยุกต์ทำการเกษตรแบบยั่งยืน โดยไม่ลืมที่จะทำงานพัฒนา ส่งเสริมชาวบ้านให้มีความกินดี อยู่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้ ดำเนินการถ่ายทอด ขยายผลองค์ความรู้ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรรมธรรมชาติ จุลินทรีย์พื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรในชุมชน การทำสบู่ถั่วเขียว การทำยาสระผมจากมะกรูด การแปรรูปสมุนไพรเป็นสมุนไพรดมหอม ให้แก่บุคคลทั่วไป ด้วยการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ โดยตนเองทำหน้าที่เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ พาทำกิจกรรมในเรื่องดังกล่าว อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจสำหรับการเรียนรู้เพื่อปรับแนวคิด ในการดำเนินชีวิต ให้รู้จักการจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และดูแลสุขภาพ สำหรับแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชน มุ่งเน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น พยายามสร้างความหลากหลายให้แก่พื้นที่เกษตร เป็นเกษตรผสมผสาน และนำผลผลิตทางการเกษตร มาจัดการ แปรรูป สร้างความยั่งยืนให้ผลผลิต ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และชีวิตของเกษตรกร รวมทั้งยังมุ่งส่งเสริม ปลูกจิตสำนึก ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่เด็กและเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติต่อไป

องค์ความรู้

                 การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น,การแปรรูปพืชสมุนไพร ,การทำผ้ามัดย้อม



                 1. การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดคุณค่า และมูลค่าสูงสุด สมาชิกชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำไร่อ้อย ทำให้ แต่ละปี ผลผลิตอ้อยมีมาก ในช่วงเก็บเกี่ยวพร้อมๆกัน ราคาอ้อยตกต่ำ ทำให้เกษตรกรขาดทุน จึงหาวิธีการจัดการกับทรัพยากรที่มี โดยนำอ้อย มาแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายแดง เพื่อบริโภคในครัวเรือน และเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปุ๋ย และน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีกรรมวิธีการทำน้ำตาลทรายแดง ดังนี้ 1) บีบอ้อย นำน้ำอ้อย ใส่ภาชนะ (กระทะ) ตั้งไฟเคี่ยวน้ำอ้อย ให้ไฟแรงเสมอกัน 2) ระหว่างเคี่ยวน้ำอ้อย คอยคนก้นกระทะเรื่อยๆ เพื่อป้องกันก้นกระทะไหม้ 3) สังเกตเมื่อเคี่ยวน้ำอ้อยได้ที่ (ประมาณ ครึ่ง-หนึ่ง ชั่วโมง) น้ำอ้อยที่เดือด จะยืดเหนียว มีลักษณะ ปุดเป็นวงเล็กๆ กระจายโดยรอบ สีน้ำตาลแดง ยกลงจากเตาไฟ (ระวังอย่าให้ไหม้) 4) กวน หรือคนน้ำตาลที่ได้ จนน้ำตาลเย็นลง และเปลี่ยนรูปจากของเหลว เป็นของแข็งเม็ดเล็กๆ 5) จะได้น้ำตาลทรายแดง นำไปเก็บไว้สำหรับใช้งานต่อไปได้ จากนั้น นำน้ำตาลทรายแดง ที่ได้ส่วนหนึ่ง มาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตทำปุ๋ยและน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ เป็นส่วนผสมร่วมกับ พืชผัก ผลไม้ และวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้บำรุง รักษาสภาพดิน สร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืชให้มีความแข็งแรง ต้านทานโรค และมีผลผลิตที่งอกงาม ถือเป็นการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอีกทางหนึ่ง รวมทั้งยังนำมาซึ่งความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย



                 การแปรรูปพืชสมุนไพร เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ยาดม ซึ่งใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมีเพื่อรักษาสุขภาพ และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครัวเรือน



                 การทำผ้ามัดย้อม วิธีการย้อมผ้า 1. สับใบไม้ หรือเปลือกไม้ที่เราต้องการย้อมให้ละเอียด 2. เตรียมผ้าด้ายดิบ ที่ซักหรือต้มแล้ว ตามแบบต่าง ๆ ที่เรากำหนด 3. เอาใบไม้หรือวัตถุดิบอย่างอื่น นำมาสับให้ละเอียดห่อด้วยตาข่ายไนล่อน 4. ใส่ห่อวัตถุดิบลงในหม้อต้ม ใส่เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ (เกลือมีคุณสมบัติช่วยขยายใยผ้าเพื่อให้สีซึม เข้าไปยึดใยผ้าได้ดีขึ้น) 5. ต้มจนเดือดสังเกตสีของใบไม้ เปลือกไม้ จะออกมาให้เห็นแล้ว จึงนำผ้าที่ย้อมมาต้ม ใช้ระยะเวลา ประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 6. นำผ้าที่ต้มมาซักน้ำสะอาด แล้วนำไปจุ่มตัวกระตุ้นสีต่าง ๆ ตามความต้องการที่จะทดลองให้ได้สีต่าง ๆ 7. หลังจากจุ่มตัวกระตุ้นสีแล้วให้ล้างน้ำสะอาดอีกรอบถ้ายังไม่พอใจให้นำไปจุ่มตัวกระต้นสีอีกรอบ 8. นำผ้าที่แกะแล้วไปผึ่งในที่ร่มไม่ควรผึ่งแดด เปลือกไม้และใบไม้ที่สามารถนำมาย้อมสีได้ ประเภทใบ 1. ใบมะม่วง สีเหลือง,สีเขียว 2. ใบหูกวาง เขียวขี้ม้า,สีดำ 3. ใบชมพู่ สีเทา,สีน้ำตาล 4. ใบฝรั่ง สีเทา,สีดำ 5. ใบกระท้อน น้ำตาลอ่อน,เข้ม 6. ใบกระถินณรงค์ น้ำตาล 7. ใบโพธิ์ ,ใบไทร สีดำ 8. ใบสัก สีแดง,น้ำตาลอ่อน เป็นต้น ประเภทเปลือกไม้ 1. เปลือกมะพร้าว สีน้ำตาล 2. เปลือกมะขามเทศ เทา,น้ำตาล,ดำ 3. เปลือกต้นมะม่วง เหลือง,เขียวอ่อน/แก่ 4. เปลือกจามจุรี ชมพู,น้ำตาล,ดำ 5. เปลือกต้นประดู่ แดง,น้ำตาล,ดำ 6. เปลือกต้นสะเดา น้ำตาล,ดำ 7. เปลือกพุทรา แดง,น้ำตาล 8. เปลือกสน แดง,น้ำตาล,ดำ เป็นต้น ตัวกระตุ้นที่ช่วยทำให้เกิดสี 1. สารส้ม 2. เปลือกห้อยแครง 3. ขี้เถ้า 4. โคลน 5. น้ำสนิมเหล็ก 6. น้ำปูนแดง 7. ดินลูกรัง




เข้าชม : 935    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553