ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 35 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


พระครูสมุห์วิเชียร คุณธมฺโม


ที่อยู่

             วัดเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

โทรศัพท์

             08-4177-5221

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 พระ ครูสมุห์วิเชียร คุณธมฺโม จบการศึกษานักธรรมชั้นเอกจากสำนักเรียนวัดบุพพาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความที่เป็นคนในพื้นที่ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีโอกาสเรียนหนังสือในเมือง ทำให้มีประสบการณ์เรียนรู้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา และมีพรสวรรค์อย่างหนึ่ง คือ สามารถเรียนรู้และจดจำอะไรได้ค่อนข้างเร็ว จึงมีความรู้ที่หลากหลาย เช่น การพูดอย่างเป็นทางการในรูปแบบต่างๆ การให้คำปรึกษา-ช่วยเหลือทางด้านระบบ/ระเบียบทางราชการ/ด้านกฎหมาย งานด้านศิลปการเขียนอักษรศิลป์ การวาด และการปั้นภาพ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้น ความรู้เหล่านี้ ในชุมชนไม่ค่อยมีใครทำได้ ทำให้มีโอกาสนำความรู้ช่วยเหลือชุมชนและเป็นที่ยอมรับของชุมชน การทำงานช่วงแรกระหว่างปี พ.ศ. 2525–2540 มีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ นอกชุมชน กับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายพระสงฆ์พระนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน โดยใช้หลักพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนา เป็นบรรทัดฐานในการคิด การตัดสินใจ จึงเห็นพฤติกรรมของชุมชนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหามากมาย จึงเป็นเหตุให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน แก้ไขปัญหา และการพัฒนาชุมชนบนฐานพุทธธรรม

องค์ความรู้

                 การจัดการชุมชน



                 พระ ครูสมุห์วิเชียร ใช้ความรู้เหล่านี้ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน 1. ความไม่ถือตัว เป็นกันเองกับทุกคน รับฟังความคิดเห็นทั้งคำยกย่องและนินทา เข้าใจธรรมชาติของคนมีกิเลส 2. มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจในปัญหาทุกข์ร้อน ช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ จึงผูกสัมพันธ์กับคนทุกเพศทุกวัยได้ ให้โอกาสกับทุกคนโดยยึดหลักเมตตาธรรม 3. ให้ความยุติธรรม ความเสมอภาค ไม่มีอคติ ในการพบปะพูดคุยกันอย่างเท่าเทียม 4. การทำงานเพื่อชุมชนต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม หรือร่วมรับรู้ และต้องร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบร่วมกัน 5. ส่งเสริมผู้มีความตั้งใจทำงานเพื่อชุมชนตามความถนัด ให้อำนาจ หน้าที่และส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน 6. การทำงานพัฒนา อาสาสมัครที่ช่วยงานถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานที่สำคัญ ดังนั้นอาสาสมัคร จึงต้องมีคุณภาพและศักยภาพ จึงต้องพัฒนาอาสาสมัครควบคู่กับการทำงาน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชุมชน 7. ให้ในสิ่งที่เขาต้องการจากนั้นจึงให้ในสิ่งที่เราต้องการให้ การจะรวมคนเพื่อสร้างการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ความเจริญเข้าถึง ดังนั้น ต้องรู้ว่าคนหรือชุมชนต้องการอะไร จึงให้สิ่งนั้นเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม แล้วค่อยสอดแทรกในสิ่งที่เราต้องการให้ภายหลัง


เข้าชม : 949    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553