ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 37 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายโชคดี ปรโลกานนท์


ที่อยู่

             14 หมู่ที่ 6 บ้านคลองทุเรียน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370

โทรศัพท์

             081-999-7468, 081-907-8260

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 นาย โชคดี ปรโลกานนท์ หรือลุงโชค หลังจบการศึกษาสาขาพืชไร่ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยมีใจรักทางด้านการเกษตรและความรักอิสระจึงเลือกที่จะประกอบอาชีพเกษตร โดยลุงโชคเริ่มต้นอาชีพด้วยการปลูกข้าวโพดที่ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งได้นำความรู้ เทคโนโลยีเครื่องจักรกลและจ้างแรงงาน ปีแรกประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แต่ขาดทุนในปีหลัง จึงเปลี่ยนมาปลูกถั่วเหลือง ผัก พริกแทน ระหว่างนั้นได้รู้จักกับคุณนิคม พุทธา เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ ได้ชักชวนให้ร่วมทำงานด้วย ในบทบาทเจ้าหน้าที่โครงการฯลุงโชคได้มีโอกาสพาเกษตรกรไปดูงานการทำการเกษตร แบบต่างๆทั้งวนเกษตรงจากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เกษตรธาตุสี่จากป๊ะหรน หมัดหลี และการทำเกษตรกรรมแบบมหาอยู่ สุนทรชัย หลังจากนั้นได้ทบทวนแนวคิดการทำเกษตรของตนเองและเห็นว่า แนวทางแบบวนเกษตรน่าจะสามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรได้ จึงเริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรนำมาประยุกต์ใช้ ลุงโชคกล่าวว่า “การที่เราไปทำงานกับชาวบ้าน หรืออยากให้ชาวบ้านทำอะไรเราก็ต้องทำด้วย” ปี พ.ศ. 2537-2545 ลุงโชคได้เข้าร่วมฟื้นฟูป่าในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จนทุกวันนี้ผืนป่าเขาแผงม้าพื้นที่รวมกว่า 22,000 ไร่ ได้รับการฟื้นฟูและคืนความสมบูรณ์กลับมาอีกครั้ง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทิงได้กลับคืนเขาแผงม้า กว่า100 ตัว สร้างคุณค่าที่เปลี่ยนเป็นมูลค่ามหาศาลต่อการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว การเรียนรู้ที่สร้างให้เกิดความรู้และจิตสำนึกของชาวบ้านและเยาวชน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ บทเรียนเหล่านี้ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกันจัดการขยายผลต่อในช่วงปี พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน

องค์ความรู้

                 การจัดการดิน, การจัดการน้ำ ,การจัดการต้นไม้, การคัดเลือกพันธุ์ ,เทคนิคการปลูกไม้ตัดใบ



                 หลัก การจัดการภายในสวน 1. การจัดการดิน สวนมีทั้งบริเวณที่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ดินทราย ดินเหนียว ดินลูกรัง ในบริเวณที่เป็นดินทรายและลูกรังปลูกไผ่ บริเวณน้ำขังปลูกข้าว โดยอาศัยธรรมชาติให้ทำหน้าที่ของมันเอง 2. การจัดการน้ำ สร้างแหล่งน้ำให้มากที่สุดเพื่อให้ความชุ่มชื่นในสวน ซึ่งมีหลัก 2 ข้อ คือ - สร้างบ่อเก็บน้ำในพื้นที่เหมาะสม สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี - กรองตะกอนและสิ่งปนเปื้อนก่อนลงบ่อด้วยวิธีธรรมชาติ คือ ใช้พืชน้ำกรองและดูดซับตะกอน เช่น ต้นสังฆรักษา ต้นคล้า ผักหนาม ผักกูด โดยปลูกตามร่องน้ำ หรือการกรองตะกอนด้วยระบบนาข้าว คือให้น้ำไหลผ่านนาก่อนแล้วค่อยปล่อยลงบ่อเก็บน้ำ ตะกอนยังเพิ่มหน้าดินให้แปลงนาอีกด้วย 3. การจัดการต้นไม้ ใช้วิธีสังเกตพื้นที่ตรงไหนปลูกต้นไม้แล้วขึ้นได้ดี ก็จะเลือกปลูกต้นไม้ชนิดนั้น อีกวิธีการหนึ่ง คือ การปลูกไม้แซม ดูว่าแสงส่องลงตรงไหนก็ปลูกต้นไม้ตรงนั้น การคัดเลือกพันธุ์ ใช้วิธีธรรมชาติ คือ ปลูกพืชให้เหมาะกับดิน ปลูกหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน สังเกตพืชที่โตเร็วคือพืชที่มีความเหมาะสม พืชที่ตายจะลองปลูกอีก 2-3 ครั้งหากยังไม่สามารถเจริญเติบโตได้หมายความว่าไม่เหมาะกับพื้นที่นั้น นอกจากปลูกไม้ยืนต้นและพืชผักสมุนไพรแล้ว ยังมีไม้ตัดใบและตัดดอก เช่น เฟิร์น หน้าวัว ชานาดู จั๋งจีน เฟิร์น โดยชานาดูและหน้าวัวจะปลูกในโรงเรือนเพราะต้องการความชื้นสูง ส่วนจั๋งจีนจะปลูกแซมต้นไม้ในสวนตามความเหมาะสม ลุงโชคปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มความหลากหลาย เป็นการสร้างที่อยู่ให้สัตว์ต่างๆได้อยู่อาศัย มีไม้ใช้สอย เป็นแหล่งอาหาร ยาสมุนไพร พลังงาน โดยใช้กิ่งทำฟืน เผาถ่านและทำน้ำส้มควันไม้ และเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ปัจจุบันสวนลุงโชคเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและต้นแบบการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ที่สนใจ ยังแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ให้กับชุมชนรอบข้าง ทั้งยังปลูกฝังให้เด็กเยาวชนในรูปแบบค่ายและการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้คนที่เข้า มาตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ “ เมื่อมีที่ดินเป็นของตัวเอง ควรปลูกต้นไม้ลงไป ปลูกอะไรก็ตามใจ การปลูกต้นไม้คล้ายกับการนำเงินไปฝากธนาคาร ถือเป็นการออมชนิดหนึ่งที่มีหลักประกันแน่นอน ไม่มีใครโกงได้ ธรรมชาติก็จะกลับมา เราก็มีอยู่มีกิน “



                 เทคนิคการปลูกไม้ตัดใบ 1. เลือกชนิดพืชที่มีใบแข็ง หนา ก้านใบยาว เช่น ใบจั๋ง ยางอินเดีย เฟิร์นหนัง ซานาดู 2. วัสดุปลูก ควรใช้วัสดุที่มีความโปร่ง ระบายน้ำได้ดี เช่น กาบมะพร้าว ใบไม้ผุ หมั่นตรวจดูวัสดุปลูกหากย่อยสลายต้องเติมหรือเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ เพื่อป้องกันต้นล้มจะทำให้ใบบิดเสียรูปทรง 3. การพรางแสง ป้องกันใบไหม้จากแสงแดดเผา ควรพลางแสงให้พืชรับแสงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือปลูกแซมในสวนป่าใต้ร่มไม้ 4. การให้น้ำ หากเป็นฤดูร้อนควรให้น้ำ เช้า – เย็น 5. การให้ปุ๋ย จะให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ทุก 15 วัน


เข้าชม : 2902    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553