ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 1 | คะแนน Rating: 3.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 1 vote)

Tag : ปราชญ์เกษตร: นิคมการเกษตรข้าว: นิคมเกษตรพอเพียง
Bookmark and Share


นายบุญชิต สมัตถะ


ที่อยู่

             162/1 หมู่ 6 ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 36210

โทรศัพท์

             080-730-0064

แนะนำปราชญ์เกษตร

                  เกษตรกรดีเด่นจังหวัดชัยภูมิ ปี 2549 ด้านเกษตรอินทรีย์ เจ้าของ “สวนอุษา” แหล่งผลิตทางด้านเกษตร สร้างรายได้แก่ครอบครัว อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ดูงาน แก่บุคคลทั่วไป เดิมพื้นที่ 15 ไร่ ปลูกอ้อย พืชยอดนิยมของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ ใช้สารเคมีบำรุงรักษา เร่งผลผลิตของอ้อย ด้วยความหวังจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ไม่เป็นผลอย่างที่หวัง ราคาอ้อยตกต่ำ ไม่สร้างรายได้ สุขภาพเริ่มแย่ลง เป็นผลมาจากการใช้สารเคมี จึงตัดสินใจเลิกทำไร่อ้อย และเริ่มเปลี่ยนวิถีการผลิตจากพืชไร่มาเป็นสวนไม้ผล เมื่อปี 2541 มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงาน และเข้ารับการอบรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ จากหน่วยงานราชการ และเอกชนต่างๆ จึงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการผลิตของตน พ่อบุญชิต นำองค์ความรู้ ในเรื่อง การทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ การขยายพันธุ์ไม้ การสร้างเตาเผาถ่าน ผลิตถ่านไม้ และเก็บน้ำส้มควันไม้ นำมาไล่แมลงและรักษาโรคพืช การผลิตของใช้ในครัวเรือน ทั้งยาสระผม น้ำยาล้างจาน น้ำยาอเนกประสงค์ ซึ่งใช้วัตถุดิบที่มีในสวน มาขยายผล ถ่ายทอด และเผยแพร่ ให้สมาชิกในชุมชน และบุคคลที่สนใจ อีกทั้งยังเป็นวิทยากรทางด้านเกษตรอินทรีย์ ประจำศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และเป็นกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดองค์ความรู้ ใช้วิธีการบรรยาย และสาธิตให้สูตร กรรมวิธีการผลิตและวิธีใช้อย่างครบครัน เพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง รวมสมาชิกในชุมชน จัดตั้งกลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ และกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดใช้เองในชุมชน ที่เหลือนำไปขายให้กับบุคคลทั่วไป โดยคอยให้คำปรึกษาแนะนำในกระบวนการผลิต และวิธีการใช้ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนั้นยังร่วมกันคิด และวางแผน การตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อสร้างระบบการตลาดที่มั่นคงแก่ชุมชน

องค์ความรู้

                 ระบบตลาด เพื่อสร้างรายได้ และรองรับผลผลิต,การผลิตของใช้ในครัวเรือน,ปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ



                 ระบบ ตลาด เพื่อสร้างรายได้ และรองรับผลผลิต ด้วยโอกาสทางพื้นที่ จึงเปิดร้านขายของริมทาง นำผลผลิตจากสวนตนเอง และสมาชิกชุมชน มาขาย ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง สามารถกำหนดราคาผลผลิตได้เอง ปรับปรุงบำรุงบรรจุภัณฑ์ ให้สะดุดตาน่าสนใจแก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างจุดขายให้แก่สินค้าด้วยการจัดมาตรฐานสินค้าเป็นสินค้าเกษตร อินทรีย์ เป็นมิตรกับธรรมชาติ รวมทั้งยังปรับปรุง พัฒนาสวน ให้อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ใช้รูปแบบการเกษตรแบบผสมสาน เปิดเป็นแหล่งศึกษาดูงาน สำหรับผู้บริโภคได้ลงมาแวะชมเมื่อซื้อสินค้า ทำให้ผู้บริโภคได้เรียนรู้ และซึมซับวิถีเกษตรไปพร้อมๆ กัน นอกจากนั้น ยังพยายามหาแหล่งตลาดเพื่อรองรับผลผลิต โดยประสานกับพ่อค้าและแม่ค้าในตลาดชุมชน โรงพยาบาล และแม็คโคร โลตัส เพื่อขายสินค้าทางการเกษตร และรับรองมาตรฐาน ประกันราคาสินค้าให้แก่ผลผลิต



                 การทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำพ่อ : เพิ่มการติดดอก ออกผลของพืช วิธีการทำ นำผลไม้สุก คือ กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่ ชนิดละ 3 กิโลกรัม หมักรวมกับ กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ฟอสเฟส 5 กิโลกรัม รำละเอียด 2 กิโลกรัม เกลือ 2 กำมือ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และน้ำ 70 ลิตร หมักทิ้งไว้ 15-30 วัน จากนั้นนำมาผสมน้ำฉีดพ่น ในอัตราส่วน 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร น้ำแม่ : บำรุงต้นพืชให้เขียวงาม กรรมวิธีการทำเช่นเดียวกับน้ำพ่อ แต่เปลี่ยนส่วนผสมจาก ผลไม้สุก เป็นพืชผัก คือ หน่อกล้วย หน่อไม้ และยอดผักบุ้ง



                 การทำแป้งหัวปุ๋ย ประโยชน์ ใช้เร่งดอก เร่งผล และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักสวนครัว ไม้ผล และข้าว วัสดุอุปกรณ์ 1. พืชผักสมุนไพร ที่มีรสเผ็ด ประมาณ 20 ชนิด ดังเช่น พริก พริกไทย ตะไคร้ ข่า กระเทียม เป็นต้น ชนิดละ 3 ขีด 2. แป้งข้าวเหนียว 2 ถุง (ถุงละ 1 กิโลกรัม) 3. ข้าวเหนียว หรือ ข้าวกล้อง 5 กิโลกรัม 4. น้ำ 5. ถังพลาสติก วิธีทำ 1. นำพืชผักสมุนไพรข้างต้น สับหรือโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แล้วคั่นเอาแต่น้ำ 2. นำมาผสมกับแป้งข้าวเหนียว 2 ถุง แล้วปั่นเป็นก้อน ให้ได้ประมาณ 140 ก้อน 3. นำไปผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 2 วัน 4. นำข้าวเหนียวหรือข้าวกล้องที่นึ่งสุกแล้ว ผสมกับก้อนแป้งหัวปุ๋ย ประมาณ 8 ก้อน หมักใส่ถังพลาสติก แล้วทิ้งไว้ 3 วัน หลังจากนั้นเติมน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 15 วัน เป็นอันเสร็จกระบวนการพร้อมนำไปใช้ การนำไปใช้ นำแป้งหัวปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้ว 3-4 ช้อน ผสมกับ น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นกับพืชผลทางการเกษตร


เข้าชม : 2181    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรอ้อย 5 บทความล่าสุด

      นายขวัญชัย รักษาพันธ์  12 / ต.ค. / 2553
      นางสาวบุญชู นิลฉ่ำ   17 / ส.ค. / 2553
      นายชิต ขวัญคำ  18 / มิ.ย. / 2553
      นายเลี่ยม บุตรจันทา  11 / ต.ค. / 2550
      นายบุญชิต สมัตถะ  11 / ต.ค. / 2550