ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 9 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายขวัญชัย รักษาพันธ์


ที่อยู่

             เลขที่ 85 หมู่ที่ 2 ตำบลเทพราชย์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

โทรศัพท์

             085-279-3193

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 ชาย ผู้มีความฝันมากมายในชีวิต หนึ่งความฝันที่ทำสำเร็จ และภูมิใจตลอดมาคือ การได้เป็นชาวนาเต็มตัว ลุงขวัญชัย รักษาพันธ์ ลูกชาวนา ใฝ่ฝันจะเข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาอาชีพเกษตรกร เมื่อสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สมใจ จึงเลือกที่จะเรียนในคณะเกษตร ภาควิชาปฐพีวิทยา เพื่อเรียนรู้เรื่องดิน สินทรัพย์สำคัญต่ออาชีพเกษตร หลังทำงานสั่งสมประสบการณ์ทางเกษตร ตั้งใจนำความรู้และประสบการณ์ มาพลิกฟื้นผืนนา เดิมที่บ้านเคยทำนาใน 40 ไร่ได้ข้าว 20 เกวียน พอลงมือทำนาจริงชาวนาที่คิดว่าตนมีทั้งความรู้และประสบการณ์ กลับได้ผลผลิตเพียง 7 เกวียน เพราะปัญหาเพลี้ยกระโดดและโรคขอบใบแห้งระบาดอย่างหนัก จึงตั้งใจสู้ ต้องเอาชนะเพลี้ยกระโดดให้ได้ ลุงขวัญใช้เวลา 10 ปีกับการเรียนรู้ หาวิธีกำจัดเพลี้ยกระโดดและโรคขอบใบแห้ง จึงพบว่าใช้ยาฉีดวัณโรค(สเตร็บโตไทซิน) 5 มิลลิกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้สำเร็จ การเป็นชาวนาตามวิถีลุงขวัญ ต้องอดทนให้ได้ 4 ข้อ คือ ทนร้อน ต้องทำงานกลางแดดได้ ไม่กลัวร้อน ไม่กลัวตัวดำ ทนอด ต้องกินน้อย ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย เก็บออมเงินสำหรับลงทุนทำเกษตร อดทนต่อการดูถูกเหยียดหยาม เมื่อถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย และอดทนต่อการขาดทุน ต้องพร้อมลุกขึ้นมาสู้ได้ใหม่เสมอ ลุงขวัญเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชมาหลายชนิด ประยุกต์เป็นเทคโนโลยีการเกษตรหลายแขนง คือ ด้านข้าว เก็บรักษาและรวบรวมพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกเป็นข้าวปลอดสารพิษ ประยุกต์เป็นข้าวนพรงค์ ด้านปุ๋ย ที่เหมาะสำหรับพืชแต่ละชนิด เช่น น้ำหมักชีวภาพจากฟางข้าว จากฟางที่เผาทิ้งอย่างไร้ค่า เปลี่ยนให้เป็น ทองคำ และน้ำหมักจากหญ้า ทั้งหญ้าขน หญ้าไมยรา และหญ้าดอกขาว ให้ธาตุอาหารพืชแตกต่างกันไปกลายเป็นสมบัติข้างถนนที่มากมายคุณค่า ด้านการเลี้ยงปลา ผลิตอาหารปลาต้นทุนต่ำ และเคล็ดลับการเลี้ยงปลาให้มีขนาดเท่ากันทุกตัวด้วยการทำน้ำเขียว การปรับปรุงดินและน้ำให้มีความเป็นกรดด่างที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของ พืชและสัตว์ ซึ่งพืชและสัตว์สามารถกินอาหารได้ดีที่ความเป็นกรดด่างที่ 7-8 หากต่ำกว่า 7 ต้องให้อาหารหรือปุ๋ยในปริมาณที่มากขึ้น ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีลุงขวัญเรียนรู้และแสวงหาเทคโนโลยีการเกษตร มาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดให้เพื่อนเกษตรกรคนอื่นๆได้นำไปใช้ เพื่อลดต้นทุน และพึ่งตนเองได้อย่างรอบรู้ รอบด้าน ดั่งคำที่คิดขึ้นเพื่อเตือนสติตนว่า "เป็นขวัญชัยต้องรอบรู้ปัญหาสารพัด ต้องรวดเร็วเร่งรัดงานทั้งหลาย ต้องริเริ่มหลายแบบให้แยบคาย ทุ่มใจกายสุดชีวิตพิชิตงาน"

องค์ความรู้

                 กระบวนการจัดการเรื่องข้าว



                 กระบวน การจัดการเรื่องข้าว 1. ผลิตเมล็ดพันธุ์ ทำนา 40 ไร่ ต้องแบ่งพื้นที่สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ 1 ไร่ โดยตกกล้าข้าวพันธุ์ก่อนวันหว่านข้าวปลูก 5 วันเพื่อให้เกี่ยวทั้งข้าวพันธุ์และข้าวปลูกได้ในวันเดียวกัน ดำด้วยกล้าต้นเดียว คัดทิ้งกอข้าวที่ออกรวงก่อนและหลังกำหนดของพันธุ์นั้น เลือกสีรวง สีใต้-บนใบเหมือนกันทั้งต้น ปลูกครบ 3 ฤดูปลูกควรเปลี่ยนพันธุ์ใหม่ 2. คัดเมล็ดพันธุ์ข้าวลีบออก ใส่น้ำ 3/4 ของโอ่ง ผสมกับเกลือ ให้มีความเข้มข้นพอที่ไข่ไก่สดลอยได้ แล้วแช่เมล็ดข้าวพันธุ์ในน้ำเกลือ คัดเมล็ดที่ลอยออก ซึ่งเป็นเมล็ดลีบ และท้องปลาซิว ก่อนหว่านแช่เมล็ดข้าวในน้ำ 1 คืน 3. ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ ในนาหว่านใช้ 1.5 ถัง/ไร่ แล้วใส่ปุ๋ยหลังหว่าน 8-14 วัน เพื่อบำรุงให้ต้นข้าวสูงกว่าต้นหญ้า นาดำใช้ 1 ถัง/ไร่ แล้วดำระยะห่าง 20 ซม. 4. ปรับปรุงโครงสร้างผืนดิน โดยไถกลบตอซัง ทำปุ๋ยน้ำหมักฟาง แกลบ ได้ปุ๋ยจากตอซัง 600 กก./ไร่ ฟาง 400 กก./ไร่ และแกลบ 200 กก./ไร่ 5. ปรับระบบการให้น้ำในนา โดยตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำทุกสัปดาห์ และปรับไม่ให้ต่ำกว่า 8.0 หากต่ำกว่า ใส่ปูนขาวหรือน้ำผสมขี้เถ้าไม้ และทำทางน้ำกว้างประมาณ 30 ซม. เวียนรอบนา 6. ข้าว 3 เหลือง เพิ่มผลผลิต กล้าเหลือง โดยไม่ใส่ปุ๋ยช่วงตกกล้า หว่านให้ห่าง ได้กล้าต้นใหญ่และแข็งแรง ก่อนท้องเหลือง เมื่อข้าวอายุ 50 วัน หรือระยะข้าวกำลังจะตั้งท้อง โดยระบายน้ำออกให้แห้ง 3 วัน จึงสูบน้ำผสมปูนขาวเข้าแปลงนา ก่อนเกี่ยวเหลือง ในระยะ 7 วันก่อนเกี่ยวระบายน้ำออกให้แห้ง ช่วยให้เมล็ดข้าวแกร่ง สีไม่หักได้น้ำหนักดี หากทำทั้ง 3 ขั้นตอน หรือ 3 เหลืองสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ประมาณ 3 ถัง/ไร่ 7. การเก็บเกี่ยว เกี่ยวในระยะพลับพลึง เพื่อลดปริมาณข้าวร่วง 8. ขายข้าวเปลือกแห้งแทนการขายข้าวเปลือกสด การทำข้าวแห้งนั้นทุกๆ ความชื้นที่ลดลง 1 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักข้าวลดลงเพียง 12 กก./ 1,000 กก.




เข้าชม : 3410    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรอ้อย 5 บทความล่าสุด

      นายขวัญชัย รักษาพันธ์  12 / ต.ค. / 2553
      นางสาวบุญชู นิลฉ่ำ   17 / ส.ค. / 2553
      นายชิต ขวัญคำ  18 / มิ.ย. / 2553
      นายเลี่ยม บุตรจันทา  11 / ต.ค. / 2550
      นายบุญชิต สมัตถะ  11 / ต.ค. / 2550