[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

หลักการและนโยบาย


หลักการและนโยบาย
       การจัดตั้งนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน เพื่อรองรับนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร ตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญ ๓ ประการ คือ                                         
1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 มาตรา 85 กำหนดแนวนโยบายด้านการพัฒนาที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ว่า “รัฐต้องดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ดำเนินการกระจายการถือครอง ที่ดิน อย่างเป็นธรรม และให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดิน ตลอดจนจัดให้มีการวางผังการจัดการ ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล”
2) นโยบายหลักของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อ 29 ธันวาคม 2551 ที่เกี่ยวข้องและสำคัญในด้านการเกษตรอันเกี่ยวข้องกับโครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตรดังนี้
· เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร
·ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง
·พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ  โค กระบือ
·ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร ส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร
·เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัย
· สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร
·  จัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ เพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตร
· คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดิน  ทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรใน รูปของนิคมการเกษตร
·พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิต และการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่างๆ
·จัดหาหนทางแก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพ และความเป็นอยู่ของเกษตรกร
 
          3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำนโยบายของรัฐบาลมากำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน  โดยจัดตั้ง “นิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน” ขับเคลื่อนนโยบาย การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร โดยมีเป้าหมายการบริหารจัดการิสนค้าเกษตรครบวงจร เพื่อตอบสนองนโยบาย ดังนี้
·เกษตรเพื่อการเกษตร มุ่งเน้นให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยให้ความสำคัญในการลดรายจ่ายของเกษตรกร ลดต้นทุน ควบคุมปัจจัยการผลิต การพัฒนาพันธุ์ และการจัดตั้งนิคมการเกษตร
·เกษตรเพื่อประชาชน มุ่งเน้นให้ประชาชนมีอาหารบริโภคที่เพียงพอและปลอดภัย มีการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่รองรับสถานการณ์ขาดแคลนในอนาคต
·เกษตรเพื่อเศรษฐกิจ มุ่งเน้นให้การผลิตทางการเกษตรเป็นฐานในการสร้างรายได้แก่ประเทศชาติด้วยการสิ่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน
          นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 เมษายน 2551 เรื่อง การจัดทำยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์วิกฤติอาหารโลกและพลังงาน ซึ่งได้กำหนดเป็นหลักการให้เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งในด้านจำนวนพื้นที่การผลิต และมูลค่าการจำหน่าย 5 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย
 
          “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดให้มีโครงการนำร่องนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากำหนดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและบริหารจัดการผลิตให้ครบวงจร (ZONING)”