[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ความเป็นมาของโครงการ


  • รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราชปี ๒๕๕๐ ให้ความสำคัญในแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในมาตรา ๘๕ ความว่า
๑) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
๒) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นรวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร
  •   นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล 
                ข้อ ๔.๒.๑.๖. ปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร โดยสร้างระบบนิคมการเกษตร และเร่งรัดการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน เพื่อการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร รวมทั้งมีความเหมาะสมและสมดุลทั้งด้านอาหารและพลังงานทดแทน ด้วยการบูรณาการหน่วยงานและภาคีความร่วมมือต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ตลอดจนสงวนและคุ้มครองพื้นที่การเกษตร จำนวน ๑๓๐ ล้านไร่ สำหรับทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
  •   พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
         พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ที่ดินจึงเป็นปัจจัยและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลผลิต เพื่อสนองแนวนโยบายรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลทางเศรษฐกิจสังคม ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
          สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  ไว้ดังนี้ “จัดที่ดิน สร้างมูลค่าที่ทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”  
  •  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
         คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก ในการช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ใน ๒ รูปแบบ คือ
๑)  ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
๒) นิคมเศรษฐกิจพอเพียง