[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 3 | คะแนน Rating: 2.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 1 vote)

Tag : นิคมการเกษตรข้าว
Bookmark and Share


นายชิต ขวัญคำ


ที่อยู่

             เลขที่ 50/1 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180

โทรศัพท์

             08-6294-0896

แนะนำปราชญ์เกษตร

                  นายชิต ขวัญคำหรือลุงชิต เกิดมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทำนาอยู่ที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ในวัยเด็กลุงชิตช่วยพ่อแม่ทำนามาตลอด กระทั่งแต่งงานจึงย้ายมาอยู่ที่ ตำบลเขาพระ และยังคงทำนาอยู่ที่ ตำบลคูหาใต้ ปี 2528 เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในฤดูฝน แต่แห้งแล้งในฤดูร้อน ทำนาขาดทุนต้องทนทำเพราะไม่รู้ว่าจะไปประกอบอาชีพอะไร ปี 2537 ในหมู่บ้านมีการขุดร่องระบายน้ำ ประกอบกับยางพาราราคาสูงจึงเปลี่ยนจากพื้นที่ทำนามาปลูกยางพารา ในช่วงที่รอให้ยางพารากรีดได้ จึงปรึกษากับภรรยาน่าจะทำเกษตรผสมผสาน ได้ไปดูพื้นที่ของคนอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ดูว่าพืชชนิดใดบ้างที่อยู่รอดในพื้นที่น้ำท่วม และเป็นประโยชน์ พบว่าผักพื้นบ้านจำพวก ต้นเหลียง ชะมวง ชะอม มะกอกป่า หมุย มันปู สามารถขึ้นได้ดี จึงเริ่มปลูกในปี 2540 โดยปลูกเป็นแถวเพื่อเก็บขายได้สะดวก แนวคิดในการปลูกพืชคือปลูกไม่มากนัก แต่สามารถเก็บไปขายได้ตลอดทั้งปี มีรายได้สม่ำเสมอ โดยเก็บไปขายที่ตลาดนัดทุกวันอังคาร และมีพ่อค้ามารับซื้อที่บ้านอีกส่วนหนึ่ง แม้รายได้ไม่มากนักแต่มีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตนรัก และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ปลูกยางพาราแต่ไม่ได้ต้องการกรีดยางพารา ลุงชิตบอกว่าต้องการพืชร่วมยาง คือพืชที่สามารถขึ้นโดยเกื้อกูลกับต้นยางพาราได้ เช่น ไผ่ ส้มแขก และไม้ยืนต้นต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นวิทยากรของหมู่บ้านในการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการทำปุ๋ย หมัก และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ดังนั้นผักพื้นเมืองที่ลุงชิตนำไปขายที่ตลาดนัดจะขายหมดอย่างรวดเร็ว

องค์ความรู้

                 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ,บ่อเลี้ยงปลาบก



                 การ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ วัตถุดิบ 1. มูลสัตว์ 50-60 กระสอบ 2. วัชพืช (อาจใช้แกลบแทนได้) 50-60 กระสอบ 3. ดิน 10 กระสอบ 4. พด.1 1 ซอง วิธีทำ 1. นำพด. 1 ผสมน้ำ 1 ปี๊ป (20 ลิตร) 2. นำมูลสัตว์มากองหนาประมาณ 1 คืบ จากนั้นนำวัชพืชมาวางทับประมาณ 1 คืบ ราดด้วยพด.1 ประมาณ 5 ลิตร วางมูลสัตว์และวัชพืชและราดพด. 1 ตามขั้นตอนแรกประมาณ 3 ชั้น นำดินมาปิดด้านบนให้ทั่ว จากนั้นราดด้วย พด.1 ที่เหลือทั้งหมด 3. หมักไว้ประมาณ 15 วันจึงกลับกอง 4. หมัก 30-45 วันจึงนำมาใช้ได้



                 บ่อเลี้ยงปลาบก เป็นบ่อปลาที่ไม่ต้องขุดลงไปในดิน ทำจากกระเบื้องแตก ร้าว หรือชำรุดเล็กน้อย (ซื้อจากร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง หรือพื้นที่ก่อสร้าง ในราคาต่ำ) 1. วางกระเบื้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร 2. ปูพื้นด้วยพลาสติกชนิดหนา 3. เจาะรูพลาสติกที่มุมบ่อ เพื่อเป็นทางสำหรับระบายน้ำทิ้ง 4. ใส่ท่อพีวีซี พร้อมมัดด้วยยางในรถจักรยานกันน้ำรั่ว 5. เติมน้ำในบ่อ ความสูงประมาณ 50 ซม. หรือตามลักษณะปลาที่จะเลี้ยง




เข้าชม : 1635    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรอ้อย 5 บทความล่าสุด

      นายขวัญชัย รักษาพันธ์  12 / ต.ค. / 2553
      นางสาวบุญชู นิลฉ่ำ   17 / ส.ค. / 2553
      นายชิต ขวัญคำ  18 / มิ.ย. / 2553
      นายเลี่ยม บุตรจันทา  11 / ต.ค. / 2550
      นายบุญชิต สมัตถะ  11 / ต.ค. / 2550