[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 30 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


พระครูสุจิณนันทกิจ (สมคิด จารณธมฺโม)


ที่อยู่

             วัดโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน 55210

โทรศัพท์

             08-1750-1484

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 พระ อาจารย์สมคิด จรณธมโม เกิดในครอบครัวเกษตรกร ทำไร่ ทำสวนเป็นหลัก มีรายได้พอเลี้ยงชีพไปวัน ๆ ขณะเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาตอนต้น ได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองมาตลอด หลังจากเรียนจบ ท่านไม่มีโอกาสเรียนต่อเพราะทางบ้านไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนได้ ต้องออกมาช่วยพ่อ แม่ทำไร่ทำสวน และได้เห็นสภาพผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรภายในชุมชนบ้านโป่ง ต่อมาได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณร ด้วยความมานะพากเพียรจึงทำให้ท่านสามารถสอบนักธรรมชั้นตรี โท ช่วงที่บวชเรียนนั้นได้เรียนรู้งานพัฒนาจากพระครูพิทักษ์นันทคุณ วัดอรัญญวาส จ.น่าน ผู้ก่อตั้ง “กลุ่มฮักเมืองน่าน” อีกทั้งยังสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในเวลาต่อมา

องค์ความรู้

                 ฟื้นฟูและรักษาป่าในชุมชน



                 บ้านโป่ง คำเคยมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านอยู่กันอย่างสันติและพอเพียง แต่ด้วยความเจริญต่าง ๆ เข้ามาในชุมชน ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า ทำให้มีหลายหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในชุมชนถูกทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรง ป่าหลายพันไร่ถูกถางจนเตียน เพื่อปลูกข้าวโพด และเมื่อถนนตัดผ่านหมู่บ้าน ได้พาพ่อค้าพร้อมสัมปทานไม้ ได้นำความอุดมสมบูรณ์ของป่าออกไปด้วย จากความอุดมสมบูรณ์จึงถูกแทนที่ด้วยความแห้งแล้งพระอาจารย์สมคิดเป็นพระนัก คิดและพัฒนา ซึ่งเกิดและเติบโตที่ชุมชนโป่งคำนี้ท่านมองเห็นถึงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการบุกรุกแผ้วถางป่า ปัญหาสังคม ปัญหาด้านยาเสพติด ด้านแรงงาน ทำให้เห็นผลกระทบที่ตามมามากมาย ด้วยความที่เป็นพระนักพัฒนา และมุ่งมั่นที่จัดการต่อปัญหาที่เกิดขึ้น จึงพยายามศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา และสาเหตุ ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยวิธีการที่ใช้ ในการแก้ปัญหา คือ สร้าง “แปลงสาธิต” ที่เป็นรูปธรรมซึ่งเกิดจากความเพียรของท่าน จึงได้ทำแปลงทดลองบนที่ดินหลังวัดโป่งคำ โดยทดลองปลูกป่า 3 แบบ 1. ป่าเชิงเดี่ยว จำนวน 2 ไร่ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือต้นไม้เข้าแถว เน้นต้นสักจำนวน 600 ต้น 2. ป่าแบบผสมผสาน จำนวน 15 ไร่ เป็นพื้นที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพด แปลงนี้จะปลูกไม้หลายชนิด 3. ป่าธรรมชาติ จำนวน 3 ไร่ แปลงนี้จะไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้ฟื้นฟูตามธรรมชาติ จากการสร้างแปลงสาธิตทำให้ได้เรียนรู้ว่าการปลูกป่าเชิงเดี่ยว (ต้นสัก) ทำให้ระบบนิเวศไม่สมดุล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้หรือพืชที่เป็นอาหาร แม้แต่เห็ดก็ไม่สามารถขึ้นได้เพราะต้นสักบังแสงแดดทำให้ต้นไม้หรือพืชอื่น ไม่สามารถเติบโตได้ ป่าผสมผสาน เป็นแปลงที่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้ที่อยู่ในธรรมชาติ กับพืชที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ ประกอบด้วยต้นไม้หลายชั้น ป่าธรรมชาติเป็นป่าที่ทำให้ระบบนิเวศกลับคืนมาทั้ง สัตว์ป่า พืชผัก และสมุนไพรต่าง ๆ นอกจากทำแปลงสาธิต พระอาจารย์สมคิดยังส่งเสริมให้เกิดกลุ่มเยาวชน โดยหวังว่าเยาวชนจะเป็นตัวกลางระหว่างพระอาจารย์สมคิดและผู้ปกครองเพื่อร่วม กันฟื้นฟูและรักษาป่าในชุมชน และทุกวันพระที่ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์ พระอาจารย์สมคิดจะพาเยาวชนเดินป่านอกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับป่าในชุมชน เป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนได้ไม่น้อย ความสำเร็จของแปลงสาธิต และการส่งเสริมให้มีกลุ่มเยาวชน ทำให้ผู้ใหญ่เริ่มให้ความสนใจร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่าทั้งสามแปลงเป็นห้องเรียนที่ยิ่งใหญ่ของชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานอนุรักษ์ผืนป่าจำนวน 12,000 ไร่ในอำเภอสันติสุข จากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้คนในชุมชนได้สำนึกรักและหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมส่งผลให้มีผู้สนใจเข้ามาร่วมเรียนรู้ที่วัด โป่งคำ ตลอดจนเป็นวิทยากรในชุมชนต่าง ๆ จึงทำให้เกิดเครือข่ายป่าชุมชน นอกจากพระอาจารย์เป็นแรงสำคัญในการฟื้นฟูป่าให้กลับคืนมา ยังได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาของคนในชุมชนให้กลับคืนมาอีกด้วย ทั้งด้านสมุนไพร ด้านอาหาร การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากการปลูกป่า ตลอดจนตั้งกลุ่มเยาวชนบ้านโป่ง นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรมหาวิทยาลัยชีวิตในวัด โป่งคำสำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย จากองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ของพระอาจารย์สมคิด ทำให้วันนี้ชุมชนบ้านโป่งคำ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องที่จะสังเคราะห์ความ รู้ จากประสบการณ์อันหลากหลายของแต่ละคนเพื่อร่วมกันสร้างชุมชนใหม่ให้เหมือนใน อดีต




เข้าชม : 1096    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553