[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 63 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายช่วน ยอดวิจารณ์


ที่อยู่

             77 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดีอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80230

โทรศัพท์

             087-266-5427

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 จาก ประสบการณ์การทำงานกับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกว่าสามสิบปี หลังจากได้เรียนรู้แนวคิดเกษตรชีวภาพ จากเครือข่ายอินแปง ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และชุมชนไม้เรียง จึงตัดสินใจลาออก หันมาทำการเกษตรตามวิถีชีวภาพ จนพบแนวทางที่อาชีพเกษตรจะสามารถอยู่ดีอยู่รอด และเริ่มถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสู่ชมชน ในบทบาทของ วิทยากรกระบวนการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลานสกา วิทยากรเกษตรชีวภาพสำนักงานเกษตรอำเภอลานสกา ประสานงานองค์กรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อำเภอลานสกา และโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ ลุงช่วนเริ่มทำงานโครงการดับบ้านดับเมือง เกษตรกรส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำบ่อกุ้ง บ่อปลา และสวนยางพารา ใช้เคมีเป็นปัจจัยสำคัญทางการเกษตร ส่งผลต่อตัวเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับชุมชนคลองท่าดีบ้านของลุงช่วน ใช้น้ำที่ไหลจากภูเขาลงสู่คลอง ทำให้ปลาในคลองเป็นโรค เป็นแผล ลุงช่วนรู้ถึงพิษภัยจากเกษตรเคมี จึงผลักดันให้ชุมชนลดการใช้สารเคมี และหันมาเดินตามวิถีอินทรีย์ชีวภาพ เริ่มจากการปรับสภาพน้ำที่ก้นบ่อ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ผสมกับโคลน ปั้นเป็นก้อนแล้วตากแห้ง ใช้โยนกระจายให้ทั่วบ่อ ก้อนน้ำหมักชีวภาพจะจมลงก้นบ่อ ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพน้ำ ลดการเน่าเสียของน้ำ สำหรับสวนยางพารา และสวนไม้ผลสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้ คือ หมักมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลวัว หรือมูลไก่ ผสมกับรำหยาบและกากน้ำตาล การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ได้น้ำยางคุณภาพดี หน้ายางนิ่ม ไม้ผลมีรสหวาน แต่ต้องใส่บ่อยครั้งจึงจะได้ผลดี กระบวนการสร้างสังคมชีวภาพให้เกิดในชุมชนนั้น ลุงช่วนให้หลักคิดว่า ต้องกระตุ้นให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในรูปแบบของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทำสวนสมรม กลุ่มออมทรัพย์ เพราะเชื่อว่าเมื่อชุมชนดูแลตนเองได้ จะสามารถบริหารจัดการชุมชนได้ด้วยชุมชนเอง ตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ เป็นการจัดการชุมชนเพื่อชุมชน

องค์ความรู้

                 กระบวนการสังคมชีวภาพ,การสร้างกระบวนการเรียนรู้สร้างเสริมความสุขแก่ชุมชน



                 บท เรียนจากโครงการดับบ้านดับเมืองและกระบวนการสังคมชีวภาพ ที่ลุงช่วนเรียนรู้ สำหรับการพัฒนาสังคมชีวภาพ คือ 1. การเรียนรู้คุณลักษณะของชีวภาพ เพื่อการตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นพื้นฐานพัฒนาไปสู่แนวคิดพึ่งตนเอง การเรียนรู้คุณลักกษณะของชีวภาพ หมายถึง การเรียนรู้ข้อดี ข้อจำกัด การก่อเกิดน้ำหมักชีวภาพ และผลของชีวภาพ เรียนรู้การพึ่งตนเอง การเคารพต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 2. การปรับเปลี่ยนแนวคิดสู่การพึ่งตนเอง เมื่อเรียนรู้เทคนิค การทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองแล้ว นำไปสู่การจัดการพึ่งตนเองในสิ่งรอบตัว ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย รูปแบบชีวิตก็เปลี่ยนไป 3. เรียนรู้พลังของคนทำเกษตรชีวภาพ ขับเคลื่อนเชื่อมโยงสู่การพัฒนาอื่นๆ กระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการพูดคุยกัน ผ่านการเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนงานด้านอื่นๆ ของชุมชน



                 การสร้างกระบวนการเรียนรู้สร้างเสริมความสุขแก่ชุมชนภาคใต้ - บนฐานคิด “ชุมชนชาวใต้มีลักษณะใฝ่เรียนรู้และพัฒนา รวมกลุ่มเป็นองค์กร กล้าริเริ่มลงมือ” - ดำเนินการโดย  คำนึงถึงเป้าหมายและผู้ที่ได้ประโยชน์  พิจารณาใคร่ครวญถึงอุดมการณ์และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ศึกษาจากทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  หาประสบการณ์จากผู้อื่น  คิดใคร่ครวญให้เหมาะสมกับพื้นที่  การมีส่วนร่วมทั้งสามภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม  เสริมสร้างพัฒนาคนรุ่นใหม่


เข้าชม : 1803    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553