[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 41 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นายอำนวย ละครศรี


ที่อยู่

             เลขที่ 6 หมู่ที่ 9 บ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130

โทรศัพท์

             086-240-9136

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 นาย อำนวย ลครศรี หรือพ่ออำนวยอดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนทอง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 บวชเรียนศึกษาพระธรรม สอบได้นักธรรมโท หลังจากได้ลาสิกขาบทศึกษาต่อ กศน. และประกอบอาชีพเกษตรมาโดยตลอด ช่วงแรกใช้ปุ๋ยเคมีและสารป้องกันกำจัดศรัตรูพืชมาก หลังจาก ส.ป.ก. ได้นำโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดิน มาดำเนินการที่บ้านโนนทอง มีโอกาสได้เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน และการลดใช้สารเคมี พัฒนาเป็นการทำนาอินทรีย์ในที่สุด การทำนาใช้พันธุ์ข้าวหลากหลาย เช่น ข้าวหอมนิล หอมมะลิแดง หอมมะลิ 105 และ กข.6 ปลูกข้าวแบบนาดำ ใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงวัว และหมู เพื่อการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มที่ จึงขุดบ่อเลี้ยงปลา และใช้น้ำจากบ่อรดต้นไม้ บริเวณคันปลูกไม้ผล ไม้ใช้สอย เช่น ขนุน มะม่วง ไผ่ ข่า ตะไคร้ มะนาว มะกูด ฯลฯ นอกจากนี้ได้ปรับคันนาให้มีขนาดกว้าง เพื่อปลูกต้นไม้ได้มากขึ้น เมื่อพื้นที่นามีความอุดมสมบูรณ์ จึงสร้างบ้านอยู่บริเวณบ่อปลา เพื่อให้มีเวลาดูแลพืชผลได้เต็มที่

องค์ความรู้

                 การทำนาอินทรีย์,อุปกรณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีด



                 การ ทำนาอินทรีย์ เนื่องจากการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้พ่ออำนวยคิดทำนาอินทรีย์ เริ่มจากการตกหล้าช่วงเดือนพฤษภาคม กล้าอายุได้ 25-30 วัน ถอนมาปักดำ หลังปักดำได้ 2 วัน นำน้ำหมักชีวภาพไป โดยเทเป็นจุดๆ อัตราส่วนน้ำหมัก 3-5 ลิตรต่อ 1 ไร่ พ่ออำนวยบอกว่า หากระดับน้ำในนาต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ไม่ควรเทเพราะจะไม่ทั่วถึงกัน ใส่ครั้งเดียวไม่ต้องใส่อีกจนเก็บเกี่ยว สูตรการทำน้ำหมัก เศษอาหารจากครัวเรือน/พืชผักผลไม้ 3 กก. กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำ 10 ลิตร พด. 2 1 ซอง ให้หมักไว้ 1 เดือนก็ใช้ได้ หลังจากปรับเปลี่ยน วิธีการผลิตจากเดิมมาทำนาอินทรีย์ลดต้นทุนได้กว่า 10,000 บาท พันธุ์ข้าวพ่ออำนวยจะเปลี่ยนทุก 3 ปี จากนั้นก็จะไปหาซื้อพันธุ์ที่เขาคัดพันธุ์ไว้แล้วมาเป็นพันธุ์ต่อไป



                 การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นแมลงที่สามารถนำมาบริโภคได้ และมีความปลอดภัย พบเห็นตามธรรมชาติทั่วไป นำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ทุกพันธุ์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในคันนา ทุ่งหญ้า สนามหญ้า และตามรอยแตกของดิน รูใต้ดิน หรือใต้กองเศษหญ้า อุปกรณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีด 1.) บ่อจิ้งหรีด สามารถใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ถัง กะละมัง ปี๊บ เป็นต้น แต่หากใช้วงปูน จะคงทนและสามารถใช้เลี้ยงจิ้งหรีดได้นานและมีราคาไม่สูงนัก ง่ายต่อการเลี้ยงและป้องกันศัตรู 2.) แผ่นพลาสติกและเทปกาว ใช้ติดรอบวงด้านบนเพื่อป้องกันจิ้งหรีดไม่ให้ออกนอกวง และศัตรูของจิ้งหรีดมารบกวน 3.) ยางรัดปากวง อาจใช้ยางในรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ ตัดให้มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอก รัดบริเวณปากของภาชนะที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีด ช่วยให้สะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง 4.) กาบมะพร้าว ใช้วางในบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นที่อยู่และหลบซ่อนของจิ้งหรีด จะใช้กาบแห้งประมาณ 2- 4 ชิ้น 5.) เศษหญ้าแห้ง ใช้วางทับกาบมะพร้าว ให้หนาประมาณ 2 ซม. เพื่อป้องกันแสงสว่างและ ให้ความอบอุ่นแก่จิ้งหรีด 6.) ถาดน้ำและถาดอาหาร ควรเป็นถาดที่ไม่ลึกมาก เพื่อให้จิ้งหรีดขึ้นกินอาหารและน้ำได้สะดวก 7.) พลาสติก ใช้สำหรับปิดปากบ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดตัวเต็มวัยและป้องกันศัตรูเข้าทำลาย จิ้งหรีด ตัดให้มีความกว้างกว่าปากวงบ่อเลี้ยงรอบนอกเล็กน้อย การเลือกสถานที่เลี้ยงจิ้งหรีด 1. ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง พื้นที่กว้างพอสมควร 2. สามารถป้องกันฝนและแสงแดดได้ โดยควรมีแสงแดดส่องพอเหมาะและอากาศถ่ายเทสะดวก 4. ไม่ควรเป็นสถานที่มีโรคและการระบาดของแมลงศัตรู พวกมด ไร 5. มีแหล่งอาหารธรรมชาติที่หาได้ง่าย เช่น หญ้า ผักตบชวา เป็นต้น การคัดเลือกพันธุ์ เลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ที่มีลักษณะตัวโต แข็งแรง มีอวัยวะครบทุกส่วน สีเข้ม วิธีการเลี้ยง ปล่อยพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์จิ้งหรีดลงบ่อ ในอัตรา 1:3 (พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อ แม่พันธุ์ 3 ตัว) ข้อควรระวัง การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์อาจเกิดไรศัตรูจิ้งหรีดได้ง่าย ถ้าพื้นบ่อสกปรกอยู่นาน ไม่ควรให้พื้นบ่อชื้นเกินไป และ ควรทำความสะอาด ล้างบ่อและตากบ่อทุกครั้งเมื่อจับจิ้งหรีดในแต่ละรุ่น อาหาร จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1. อาหารหลัก ส่วนใหญ่เป็นจำพวกหญ้า เช่น หญ้าขน ผักตบชวา กาบกล้วย เป็นต้น 2. อาหารเสริม (อาหารสำเร็จรูป) เช่น อาหารปลา รำอ่อน เป็นต้น วิธีการให้อาหารและน้ำ - อาหารหลัก อาหารเสริม และน้ำ ควรให้ 2 วัน/1 ครั้ง - อาหารหลักจะให้ครั้งละ 1 กำมือ - อาหารเสริมจะให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของจิ้งหรีด แต่ต้องไม่ให้จำนวนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา วิธีการป้องกันศัตรู จิ้งหรีดจะกินพืชเป็นอาหารหลัก ศัตรูจะติดมากับพืชอาหาร เช่น ไร แมงมุม ก่อนนำมาเลี้ยงจิ้งหรีด ต้องนำมาล้างน้ำ แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำก่อนเพื่อล้างเอาศัตรูออก สำหรับมดก่อนนำจิ้งหรีดมาปล่อยลงวงบ่อปูนจะต้องป้องกันด้วยการโรยยากำจัดมด รอบวงบ่อปูน หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องแล้วพันรอบบ่อเลี้ยงด้านล่าง อายุที่สามารถนำมาทำอาหารได้ เมื่อเลี้ยงจิ้งหรีด อายุได้ประมาณ 36 วัน ขึ้นไป สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ขึ้นกับความชอบของแต่ละคน ทั้ง ทอด ปิ้ง ย่าง แกง เป็นต้น




เข้าชม : 1054    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553