[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##
headerphoto

ปราชญ์เกษตร

  [ ดูบทความทั้งหมด ]
 

ให้คะแนนบทความนี้

บทความหมายเลข 45 | คะแนน Rating: 0.0/5 ดาว (จากจำนวนโหวต 0 votes)

Tag : ปราชญ์เกษตร
Bookmark and Share


นางพิกุล ณุวงษ์ศรี


ที่อยู่

             เลขที่ 84/7 บ้านสว่าง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000

โทรศัพท์

             086-874-9854

แนะนำปราชญ์เกษตร

                 เดิม แม่นางมีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวพอสิ้นฤดูไม่มีกิจกรรมใดที่จะสร้างรายได้ แต่ขณะเดียวกันต้องกินต้องใช้อยู่ทุกวันจึงพยายามคิดหาวิธีที่จะสร้างรายได้ เสริมกระทั่งปี 2546 อบต.เข้ามาส่งเสริมอาชีพในชุมชน แม่นางในฐานะรองประธานจึงได้ร่วมกับสมาชิกกว่า 25 คนทดลองเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเป็นอย่างดี กระทั่งประสบกับวิกฤติไข้หวัดนกระบาดอย่างรุนแรงทั่วประเทศ ทำให้ต้องเลิกกิจกรรม ปี 2548 ได้มีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ ส.ป.ก.ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเข้าทำวิจัยร่วมกับชุมชน และด้วยกระบวนการวิจัยชุมชนได้เห็นศักยภาพของชุมชน คือ การจักสานเพราะเป็นวิถีที่สืบทอดกันมานาน แม่นางจึงได้ร่วมกับสมาชิกชุมชนก่อตั้งเป็น “กลุ่มจักสานบ้านสว่าง” เพื่อนำความรู้ประสบการณ์ของชุมชนต่อยอดอาชีพ และรายได้ให้กับสมาชิกชุมชน ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 20 คน เดิมการจักสานของกลุ่มจะเน้นที่กระติ๊บข้าวเป็นหลักแต่หลังจากได้มีโอกาส ศึกษาดูงานจากโครงการทำให้กลุ่มได้พัฒนารูปแบบทั้งลาย และการใช้งานเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งของชำร่วย กระติ๊บข้าว กล่องทิชชู่ ทำให้สามารถสร้างรายได้รายวันให้กับสมาชิกกลุ่มอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้แม่นางและสมาชิกยังร่วมกันออมทรัพย์เพื่อเป็นทุน และสวัสดิการให้กับสมาชิกทั้งยามเจ็บป่วย และสำหรับกู้ฉุกเฉิน การเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมด้านอาหารเพื่อลดรายจ่าย ที่เหลือยังช่วยเพิ่มรายได้อีกด้วย

องค์ความรู้

                 การจักสาน,เห็ดบด



                 การ จักสาน การเลือกไม้ไผ่ที่จะนำมาจักสานควรเป็นไผ่สีสุก เพราะปล้องใหญ่ ผ่าง่าย และมีวิธีเลือก คือ -ปล้องห่าง เพราะจะทำให้ได้ตอกดี ไม่หักง่าย -อายุไม่ควรต่ำกว่าหรือเกิน 1 ปี เพราะหากไม้ไผ่อ่อน ตอกที่ได้จะอวบเกินไปไม่แข็งแรง ความคงทนมีน้อย แต่หากแก่ตอกจะแข็งเกินไป และทำให้การม้วนยาก หักง่าย -ไม่เป็นเต่าเผา (รอยแมลงเจาะ) เพราะสีของเนื้อไม้จะไม่สวย หักง่าย และนำมาทำตอกยาก



                 เห็ดบด โรงเรือน ความกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 2.5 เมตร สามารถบรรจุได้ 3,000-4,000 ก้อน ยกพื้นให้สูงประมาณ 10 เซนติเมตร และปรับให้เรียบ ทำชั้นวาง ปิดด้านข้างด้วยพลาสติกสิดำตั้งแต่ชิดหลังคาลงมาถึงพื้นดินรอบโรงเรือน หลังคามุงด้วยหญ้าคา ส่วนผสม ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม /รำอ่อน 5 กิโลกรัม/ ปูนขาว 1 กิโลกรัม /ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม/ ดีเกลือ 1 กิโลกรัม วิธีทำ 1. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน และรดน้ำให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ (ปั้นเป็นก้อนได้ไม่แตก และน้ำไม่เยิ้มมือ) 2. อัดก้อนบรรจุถุงให้ได้น้ำหนักประมาณก้อนละ 1 กิโลกรัม ใส่จุกคอขวด อัดสำลี และปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รัดหนังยาง 3. นำไปนึ่งประมาณ 8-12 ชั่วโมง ปล่อยให้อุ่น 4. นำสำลีและกระดาษปิดออก แล้วหยอดเชื้อให้เกือบเต็มคอขวด ยัดสำลี และรัดด้วยกระดาษชุดใหม่ 5. นำเข้าโรงพักเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อจะเริ่มเดิน จนถึง 2 เดือนเชื้อจะเดินเต็ม 6. เปิดก้อนด้วยการดึงสำลี กระดาษ และจุกคอขวดออก แล้วอบเชื้อไว้ประมาณ 3 วัน เห็ดจะเริ่มให้ดอกจึงควรดูความชื้นภายในโรงเรือนให้พอเหมาะ คือ หากความชื้นไม่พอดอกเห็ดจะแห้ง เล็ก 7. เปิดให้อากาศเข้าอย่างทั่วถึง โดยดึงพลาสติกดำขึ้นประมาณหัวเข่า ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่อบเชื้อถึงเก็บประมาณ 1 สัปดาห์ 8. การเก็บสามารถกำหนดได้ว่าต้องการเห็ดหนุ่มที่จะได้น้ำหนัก และปริมาณน้อยกว่า แต่ราคาสูงกว่า หรือต้องการเห็ดแก่ โรค และแมลง โรคและแมลงที่พบ คือ ไรไข่ปลา ราเขียว วิธีแก้ คือ นำไปตากแดด และปลวกจัดการด้วยการหมั่นสำรวจและทำลาย


เข้าชม : 684    [ ขึ้นบน ]


บทความ  นิคมการเกษตรข้าว 5 บทความล่าสุด

      นายอภินันต์ หมัดหลี  12 / ต.ค. / 2553
      นายบุญชู เพชรรักษ์  12 / ต.ค. / 2553
      นายช่วน ยอดวิจารณ์  12 / ต.ค. / 2553
      พระอธิการสุวรรณ์ คเวสโก   12 / ต.ค. / 2553
      นายลาภ ชูเมือง  12 / ต.ค. / 2553